จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมของผู้เขียน (Ethics of Authors)

  1. บทความวิจัย หรือ บทความวิชาการของผู้เขียนต้องเป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในที่ใดมาก่อน
  2. ผู้เขียนบทความวิจัย หรือ บทความวิชาการต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  3. ผู้เขียนบทความวิจัย หรือ บทความวิชาการ หรือ บทความปริทัศน์ หรือ บทพินิจหนังสือ เมื่อมีการนำข้อความหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานผู้อื่น มาใช้ประกอบการเขียนบทความของตนเอง ต้องมีการจัดทำรายการอ้างอิงให้ครบถ้วน
  4. ผู้เขียนต้องเขียนบทความวิจัย หรือ บทความวิชาการให้ถูกต้องตามรูปแบบการพิมพ์ที่วารสารได้กำหนดไว้
  5. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏทุกคนในบทความวิจัย หรือ บทความวิชาการ หรือ บทความปริทัศน์ หรือ บทพินิจหนังสือ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ อย่างแท้จริง
  6. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ (ถ้ามี)
  7. ผู้เขียนต้องไม่นำผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่กับวารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ไปตีพิมพ์ หรือเผยแพร่กับแหล่งอื่นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
  8. การขอจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ หรือ สัตว์ทดลอง ผู้นิพนธ์ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือ คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองตามแต่กรณี และต้องระบุไว้ในบทความด้วย (ถ้ามี)
  9. ผู้เขียนต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่มีความน่าเชื่อถือ

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ (Ethics of Reviewers)

  1. ผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายให้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ เช่น การที่ผู้ประเมินบทความมีความรู้จักกับผู้เขียนบทความเป็นการส่วนตัว หรือ อาจมีผลประโยชน์อื่นๆที่ทำให้ไม่สามารถประเมินบทความได้อย่างเป็นอิสระ
  3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
  4. หากผู้ประเมินบทความพบว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นโดยมีหลักฐานชัดแจ้ง ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
  5. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากบทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่ตนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประเมิน
  6. ผู้ประเมินต้องรักษาระยะเวลาประเมินบทความให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่วารสารกำหนด

 

จริยธรรมของบรรณาธิการ (Ethics of Editors)

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความ เช่น รูปแบบตามพิมพ์ตามที่วารสารกำหนด ความสอดคล้องกับนโยบายการจัดพิมพ์ ก่อนเริ่มกระบวนการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. บรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความโดยปราศจากอคติที่มีต่อผู้เขียนทั้งในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้เขียน
  3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ ให้แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  4. บรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจคัดเลือกบทความเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์ โดยพิจารณาจากผลการประเมินของผู้ประเมินบทความ รวมทั้งความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตเนื้อหาของวารสาร
  5. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากที่อื่นมาแล้ว
  6. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความ และผู้ประเมินบทความ
  7. บรรณาธิการต้องไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานวิชาการของตนเอง
  8. บรรณาธิการต้องมีการกำกับการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่มีความน่าเชื่อถือ โดยหากมีหลักฐานชัดเจนว่ามีการคัดลอกผลงานผู้อื่น บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และทำการติดต่อผู้เขียนเพื่อขอคำชี้แจงตามหลักวิชาการประกอบการพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้น
  9. บรรณาธิการต้องเต็มใจแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอดถอนบทความและการขออภัยหากมีความจำเป็น