รูปแบบการพัฒนาครูภาษาอังกฤษโดยใช้กระบวนการ Coaching และ Mentoring
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ, กระบวนการ Coaching และ Mentoringบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยโดยใช้กระบวนการ Coaching และ Mentoring โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากการถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรมและการวิเคราะห์เอกสาร รูปแบบการพัฒนาครูที่สร้างขึ้นได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คนโดยใช้วิธีสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และนำไปทดลองใช้ในการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ โครงการคูปองพัฒนาครู ประจำปีงบประมาณ 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กรอบคำถามสำหรับการถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรม แบบวิเคราะห์องค์ประกอบของกระบวนการ Coaching และ Mentoring แบบวิเคราะห์องค์ประกอบของคุณลักษณะที่ดีของ coach และ mentor ประเด็นการสนทนากลุ่ม กรอบการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความสามารถครูในการจัดการเรียนรู้ บันทึกการเรียนรู้ของครู และแบบบันทึกผลการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาครูภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยโดยใช้กระบวนการ Coaching และ Mentoring ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอนซึ่งเป็นที่มาของชื่อรูปแบบ 4 As Model ได้แก่ การวิเคราะห์บริบท (Analysis of Context) การวางเป้าหมายและวางแผน (Aims and Plan ) การลงมือปฏิบัติ (Action) และ การประเมินผล (Assessment ) มีหลักการสำคัญที่ผู้เป็น Coach และ Mentor จะต้องยึดถือสำหรับขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ ได้แก่ 1) ความเป็นกัลยาณมิตร 2) การสะท้อนคิด 3) การให้ทางเลือก 4) การใช้คำถามที่ทรงพลัง และ 5) การให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ ผู้เป็น Coach และ Mentor จะต้องมีคุณลักษณะดังนี้ 1) มีความเชี่ยวชาญ 2) มีบุคลิกภาพที่ดี 3) มีทักษะการสื่อสารที่ดี 4) มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับ 5) มีทักษะในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรูปแบบนี้ ได้แก่ การติดตามผลและดูแลหลังการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งที่กำลังพัฒนา นโยบายและแรงจูงใจสำหรับครูในการพัฒนาตน และ กระบวนการบริหารโรงเรียนที่ดี หัวหน้าสถานศึกษาต้อง สนับสนุน และกระตุ้นให้ครูนำสิ่งที่ไปพัฒนามาใช้ในชั้นเรียน
References
Komchadluek. 2016. Bangkok. 14 January 2016. (Online).
http://www.komchadluek.net/detail/20160114/220494.html, 15 January 2016.
Dailynews. 2016. Bangkok. 5 January 2016. (Online).
http://www.dailynews.co.th/education/371188, 5 January 2016.
Siridhrungsri, P. 2014. “Quality Improvement on Thai Teachers in 21st Century.”
"Partnership in Creating a Learning Society for All" Proceedings (6-8 May 2014):
6-20.
Duangdeeden, S. 2009. " After Action Review: AAR)” Productivity World. 14 (82):
73-76.
Office of the Education Council, Ministry of Education. 2009. “A 9-year-Education
Reform Summary (2542 – 2551 BE.)”. Bangkok: Office of the Education Council,
Ministry of Education
Asada, T. 2012. "Mentoring novice teachers in Japanese schools.” International Journal
of Mentoring and Coaching in Education. 1 (1): 54-65.
Delaney, Y. A. 2012. “Research on Mentoring Language Teachers: Its Role in Language
Education.” Foreign Language Annals. 45 (S1): S184–S202.
Diaz-Maggioli, G. H. 2003. Professional Development for Language Teachers. (Online).
http://unitus.org/FULL/0303diaz.pdf, July 1, 2015.
__________. 2004. A Passion for Learning: Teacher-Centered Professional
Development. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum
Development.
Parsloe, E. and M. Leedham. 2009. Coaching and Mentoring: Practical Conversations to
Improve Learning. 2nd ed. London: Kagan Page.
Sparks, D. 2002. Designing Powerful Professional Development for Teachers and
Principals. Oxford: National Staff Development Council.
Welsh Government. 2015. Coaching and Mentoring. (Online).
http://learning.gov.wales/docs/learningwales/publications/150814-effective-use-
of-data-en.pdf, June 11, 2015.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)