การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นําสําหรับนิสิตระดับปริญญาตรี: บูรณาการอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และทักษะที่สําคัญแห่งศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ศุภฤกษ์ ทานาค ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

นวัตกรรมทางการศึกษา, ภาวะผู้นํา, กิจกรรมการเรียนการสอน, กิจกรรมพัฒนานิสิต, อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ทักษะที่สําคัญแห่งศตวรรษที่ 21, นิสิตระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของภาวะผู้นํา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนานิสิตที่ส่งเสริมภาวะผู้นําสําหรับนิสิตปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาใน 2 ด้าน ได้แก่กิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนานิสิตต้นแบบเพื่อพัฒนาภาวะผู้นําสําหรับนิสิตปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยบูรณาการอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และทักษะที่สําคัญแห่งศตวรรษที่ 21 และ 3) ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมทางการศึกษาดังกล่าว กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ ผู้บริหาร อาจารย์นักวิชาการศึกษาและนิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จํานวน 169 คน ดําเนินการวิจัยโดยรวบรวมองค์ความรู้จากงานวิจัย หนังสือและข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เป็นต้น เกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นําและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หลังจากนั้นนํามาพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม และประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมทางการศึกษาโดยนําไปทดลองใช้กับนิสิต การวิจัยปรากฎผล ดังนี้

1. คุณลักษณะของภาวะผู้นําที่เป็นจุดเน้นของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ควรครอบคลุมพฤติกรรม 3 ด้าน ได้แก่ 1) มุ่งทําให้ภาระงานสัมฤทธิ์ผล 2) ทํางานเป็นทีมเพื่อไปสู่เป้าหมาย และ 3) ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสําหรับกิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาภาวะผู้นํานั้น ควรเน้นการทํางานเป็นทีมที่สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้ใช้ความสามารถตามศักยภาพที่มีทํางานให้บรรลุเป้าหมาย ส่วนกิจกรรมพัฒนานิสิตที่สามารถเสริมสร้างให้เกิดภาวะผู้นําได้นั้น ควรเน้นการทํางานเป็นทีม ร่วมมือแบบสร้างเครือข่ายได้ปฎิบัติจริง โดยใช้ความรู้ความสามารถตามศาสตร์เฉพาะทางของตนเองไปบริการสังคม

2. นวัตกรรมทางการศึกษาด้านที่ 1 กิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น คือ รูปแบบของเทคนิค 4G LTE (คิดดีทําดีพูดดีวินัยดี) จะเป็นเทคนิคที่ฝึกให้นิสิตใช้ทักษะการคิด การพูดแสดงความคิดเห็น การนําเสนอผลงาน การทํางานกลุ่มแบบร่วมมือ การฝึกวินัย คุณธรรมและจริยธรรมในการเรียน เพื่อจะนําไปสู่การพัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นํา นวัตกรรมทางการศึกษาด้านที่ 2 กิจกรรมพัฒนานิสิตต้นแบบที่พัฒนาขึ้นคือ โครงการต้นแบบชื่อว่า “โครงการนําศาสตร์แห่งแผ่นดินคืนสู่แผ่นดิน”โดยมีลักษณะการทําโครงการแบบเครือข่ายร่วมมือกันทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยและนําองค์ความรู้ในศาสตร์ที่นิสิตเรียนไปบริการสังคมอย่างมีเป้าหมาย จากผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ในภาพรวมนวัตกรรมทางการศึกษาด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมีความเหมาะสมและยืดหยุ่น ง่ายในการนําไปใช้อีกทั้งยังสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และทักษะที่สําคัญแห่งศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรให้นิสิตมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อที่จะสามารถช่วยพัฒนาภาวะผู้นําของนิสิตได้อย่างเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนนวัตกรรมทางการศึกษาด้านกิจกรรมพัฒนานิสิตต้นแบบนั้นในภาพรวมมีความเหมาะสมในการนําไปใช้แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีความร่วมมือร่วมใจกันและมอบบทบาทหน้าที่กันให้ชัดเจนและอาจจะมีอุปสรรคในเรื่องเวลาและเทคนิคของการจัดกิจกรรม อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่าควรจัดไปพร้อมกันโดยไม่ต้องแยกชั้นปี เพราะนิสิตมีความสามารถต่างกันแต่สามารถเรียนรู้ได้เช่นกัน

3. จากผลการประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมทางการศึกษาโดยนําไปทดลองใช้กับนิสิตเฉพาะนวัตกรรมทางการศึกษาด้านกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า ในช่วงแรกนิสิตยังไม่สามารถปรับตัวได้เพราะไม่ค่อยเข้าใจแนวทางและไม่คุ้นชินกับกิจกรรมที่มีลักษณะแบบนี้แต่เดิมนิสิตจะมีประสบการณ์การเรียนการสอนที่เน้นฟังอาจารย์บรรยายเป็นหลัก ภายหลังจากนิสิตเริ่มเข้าใจกิจกรรมการเรียน
การสอนแล้วนิสิตมีความสนุก กระตือรือล้นในการทํากิจกรรม มีความสุขในการทํางาน และเริ่มมีความมั่นใจในตัวเอง รวมทั้งเข้าใจกระบวนการทํางานกลุ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะทํากิจกรรมการเรียนการสอนผู้สอน ต้องติดตามใกล้ชิดโดยร่วมวางแผนและอธิบายกระบวนการทํางานไปกับนิสิตในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

References

Astin, A.W. (1997). What matters in college? Four critical years revisited. San Francisco: Jossey-Bass.
Brungardt, C. (1996). The making of leaders: A review of the research in leadership development and education. Journal of Leadership & Organizational Studies, 3(3), 81– 95. doi: 10.1177/107179199700300309
Cook, S.D.N., & Brown, J.S. (1999). Bridging Epistemologies: The generative dance between organizational knowledge and organizational knowing. Organizational Science, 10(4), 381–400. doi: 10.1287/orsc.10.4.381
Daft, R.L. (2011). The Leadership Experience (6 edition). Singapore: South-Western Cengage Learning.
French, A. (2017). Toward a New Conceptual Model: Integrating the Social Change Model of Leadership Development and Tinto’s Model of Student Persistence. Journal of Leadership Education, 16(3), 97-117. doi: 1012806/V16/I3/T1
Higher Education Research Institute (HERI). (1996). A social change model of leadership development: Guidebook version III. College Park, MD: National Clearinghouse for Leadership Programs.
Higher Education Research Institute. (2014). Findings from the 2014 admnistration of the Your First College Year: National aggregate. Los Angeles, CA: Higher Education Research Institute at UCLA.
Honey, P., & Mumford, A. (1992). The manual of learning styles (2nd ed.). Maidenhead, UK: Peter Honey and Alan Mumfo.
International Affairs Devision. (2013). Philosophy, Vision and Mission of Kasetsart University. Retrieved from http://www.ku.ac.th/web2012/index.php?c=adms&m=linkmenu_th&time=20120627113237&load=&lang=thai&ip=1&id=10&page=%BB%C3%D1%AA%AD%D2%20%C7%D4%CA%D1%C2%B7%D1%C8%B9%EC%20%BE%D1%B9%B8%A1%D4%A8&page1=. [in Thai]
Jamjuree, D. & Makesrithongkum, B. (2012). Developing Leadership in Higher Education Students. Executive Journal, 32(1), 169-173. [in Thai]
Jenkins, D.M. (2012). Exploring signature pedagogies in undergraduate leadership education. Journal of Leadership Education, 11(1), 1–27. doi: 10.12806/V11/I1/RF1
Keating, K., Rosch, D.M., & Burgoon, L. (2014). Developmental readiness for leadership: The differential effects of leadership courses on creating “ready, willing, and able” leaders. Journal of Leadership Education, 13(3), 1–16. doi:1012806/V13/I3/R1
Mckim, A.J., Velez, J.J., Stewart, J., & Strawn, K. (2017). Exploring leadership development through community-based experiences. Journal of Leadership Studies, 10(4), 6-16. doi: 10.1002/jls
Northouse, P.G. (2012). Leadership: Theory and practice. Sage Publications.
Onsiri, S., Amitpai, C., Keowmookdar, N., Sukomol, N., Tonlaput, P. (2016). Development of Thinking Skills for Leadership Building by Using Physical Activities of Kasetsart University Students. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 4(1), 14-27. [in Thai]
Owen, J.E. (2015). Transforming leadership development for significant learning. New
Directions for Student Leadership, 145, 7-17. doi: 10.1002/yd.20120
Partnership for 21st Century learning. (2015). Framework For 21st Century Learning. Retrieved from https://www.p21.org/our-work/p21-framework., March 3,2017.
Pimpa, R. (2014). Leaderships of teachers student 5 years, Bachelor of Education Program, Srinakharinwirot University. Master of Education Thesis (Educational Administration). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
Rattanasit, P., Tanpichai, P. & Ungsitthipoonporn, W. (2016). The Factors Related to Student’s Leadership in Kasetsart University. Kampangsan Campus. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 602-614. [in Thai]
Rost, J.C., & Barker, R.A. (2000). Leadership education in colleges: Toward a 21st century paradigm. Journal of Leadership and Organizational Studies, 7(1), 3–12. doi: 10.1177/107179190000700102
Ruben, B.D., De Lisi, R., & Gigliotti, R.A. (2017). A guide for leaders in higher education: Core concepts, competencies, and tools. Sterling, VA: Stylus.
Smith, K.A., Sheppard, S.D., Johnson, D.W., & Johnson, R.T. (2005). Pedagogies of
engagement: Classroom-based practices. Journal of Engineering Education, 94(1), 87–101. doi:10.1002/j.2168-9830.2005.tb00831.x
Thongburan, P. & Charoenkul, N. (2012). Strategic leadership of students of the Royal Thai Army War College Class 56. An Online Journal of Education, 7(1), 2361-2374. [in Thai]
Tongmang, N., Jai-aree, A. & Tanpichai, P. (2017). Factors Affecting the Leadership of Undergraduate Students in Bachelor of Science Program in Agricultural and Environmental Education, Faculty of Education and Development Science,
Kasetsart University. Journal of Yala Rajabhat University, 12(1), 193-207. [in Thai]
Vanichvasin, P. (2016). The Development of Innovative Leadership Competencies through the use of leadership activities to promote innovative leadership. Journal of Industrial Education, 15(3), 21-28. [in Thai]
Wachirasukmongkol, B. (2014). Educational Leadership. Retrieved from http://office.nu.ac.th/edu_teach/ASS/Download/vchk-B1. [in Thai]
Yukl, G. (2013). Leadership in Organizations (8 edition). NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-29