การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ของวัยรุ่นในสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปวิธ สิริเกียรติกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุเมษย์ หนกหลัง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กัลพฤกษ์ พลศร ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, แรงจูงใจในการเลิกบุหรี่, วัยรุ่นในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ดำเนินการวิจัยเป็นวงจักร แบบ PAOR ซึ่งในครั้งนี้ดำเนินการวิจัยเป็น 1 วงจักร อธิบายได้ 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอน Plan (P) คือ การวางแผนเพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ของวัยรุ่นในสถานศึกษา ขั้นตอน Action & Observation (A & O) คือการปฏิบัติการเพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่และการสังเกตการณ์จากการปฏิบัติ และขั้นตอน Reflection (R) คือการสะท้อนคิดการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ให้แก่วัยรุ่นในสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ของวัยรุ่นในสถานศึกษาจากการมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ของวัยรุ่นในสถานศึกษาจากการมีส่วนร่วม เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ วิเคราะห์เอกสาร สำรวจพื้นที่ สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต สนทนากลุ่ม และแบบประเมินแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ค่าเฉลี่ยและ t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเลือกกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ใช้บุหรี่ และรูปแบบโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจการในเลิกบุหรี่ คือ จัดกิจกรรมในร่มเสริมด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง การจัดกิจกรรม 3 วัน 2 คืน และใช้สถานที่ในโรงเรียนและนอกโรงเรียนบางกิจกรรม 2) ภายหลังการทดลองใช้โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ของวัยรุ่นในสถานศึกษาจากการมีส่วนร่วมวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในภาพรวมและในรายด้าน ยกเว้นด้านความศรัทธาในความสามารถไม่แตกต่างกัน

References

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพของชุมชน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2553). การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประกิต วาทีสาธกกิจ และแสงเดือน สุวรรณรัศมี บรรณาธิการ (2553). ถอดบทเรียน เยาวชนรณรงค์ สถานศึกษาปลอดบุหรี่. กรุงเทพ. มูลนิธรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
พิชญ์สินี วาณิชพราหมณ์. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผกาวดี พรหมนุช. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณาพร กรุงไกรเพชร และกิตติ กรุงไกรเพชร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. บูรพาเวชสาร. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560) หน้า 21-30
ลักลีน วรรณประพันธ์. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์และการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร
พ.ศ. 2557. THE SMOKING AND DRINKING BEHAVIOUR SURVEY 2014. กรุงเทพมหานคร. สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สถาบันธัญญารักษ์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2546). การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ และ ชาย สัญญาวิวัฒน์. (2551). สังคมศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อรุณรุ่ง บุญธนันตพงศ์. (2549). ไม่ใช่เรื่องง่ายกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.
วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร 1 : 1(มกราคม-มิถุนายน) : หน้า 19-26.
Erbaydar Tugrul, Lawrence Susan, Dagli Elif, Hayran Osman, Collishaw Neil E. (2005).
Influence of social environment in smoking among adolescents in Turkey. European Journal of Public Health, 15(4), 404–410
Duane P. Schultz & Sydney Ellen Schultz, (2004). Theories of Personality 8Thedition. CA:
Thomson Wadsworth.
Klein Elizabeth G., Forster Jean L. and Erickson Darin J. (2013) Longitudinal Predictors of
Stopping Smoking in Young Adulthood. Journal of Adolescent Health. 53, 363e367
O’Byrne KristinKoettingม Haddock C.Keith, Poston Walker S.C (2002). Parenting style and
adolescent smoking. Journal of Adolescent Health 30(6), 418-425
Tyasa Suzanne L. and Pedersonb Linda L. (1998). Psychosocial factors related to adolescent
smoking: a critical review of the literature. Tobacco Control, BMJ Journal 7, 409-420
Saengcharnchai P., (2003). The Buddist Twelve steps. Draft paper presentation at seminar/workshop on the Role of Faith Base Organization and Spirituality in Drug Demand Reduction, Drug Advisory ProgrammeThe Colombo Plan Secretariat.
Vries Hein de, Engels Rutger , Kremers Stef, Wetzels Joyce and Mudde Aart (2003) Parents'
and friends' smoking status as predictors of smoking onset: findings from six European countries. Health and Education Research, 18(5), 627 – 636
Wang Min Qi, Fitzhugh Eugene C., Westerfield R. Carl., and Eddy James M. (1995). Family
and peer influences on smoking behavior among American adolescents: An age trend. Journal of Adolescent Health. 16(3), 200–203

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-29