การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามกรอบแนวคิด The Scientific Structure Creativity Model (SSCM)

ผู้แต่ง

  • ปัญญ์ปภัส สิงห์อร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เอกรัตน์ ทานาค ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความคิดสร้างสรรค์, ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์, The Scientific Structure Creativity Model

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความคิด สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 27 คน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในวิชาชีววิทยา โดยใช้กรอบแนวคิดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์จาก The Scientific Structure Creativity Model (SSCM) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบความคิด สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นคําถาม ปลายเปิดจํานวน 7 ข้อ ซึ่งเป็นการวัดความคิดสร้างสรรค์ ทางวิทยาศาสตร์ใน 3 มิติคือ มิติที่ 1 ด้านผลลัพธ์เป็นการวัดเกี่ยวกับความรู้หลักการและทักษะทางวิทยาศาสตร์มิติที่ 2 ด้านคุณลักษณะ และมิติที่ 3 ด้านกระบวนการ และวิเคราะห์ผลโดยให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนน จากนั้นหาค่าเฉลี่ยของนักเรียนในแต่ละข้อคําถาม แล้วนําเสนอข้อมูลในรูปตารางแสดงผล

ผลการวิจัย พบว่า การวัดความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กรอบแนวคิดของ Hu และ Adey สามารถแยกความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มได้อย่างชัดเจน โดยนักเรียนมีระดับพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ในองค์ประกอบด้านความคิดคล่องมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย คือ 4.40 รองลงมา คือ ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยคือ 3.00 และ 2.23 ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนมีความคิด สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในมิติขององค์ประกอบมิติด้านผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กับความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องจินตนาการและกระบวนการคิดอยู่สูงกว่าความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น ๆ

References

Al-Abdali, N. S. & Al-Balushi, S. M. (2016). Teaching for creativity by science teachers in grades 5-10. International Journal of Science and Mathematics Education, 14, 251-268. doi: 10.1007/s10763-01409612-3.

Amabile, T. M. (2012). Componential theory of creativity. Encyclopedia of Theory.

Cropley, A. J. (2000). Defining and measuring creativity: Are creativity tests worth using?. Roeper Review, 23(2), 72-79. doi: 10.1080/02783190009554069.

Hathcock, S. J., Dickerson, J. D., Eckhoff, A. & Katsioloudis, P. (2015). Scaffolding for creativity product possibilities in a design-based STEM activity. Research in Science Education, 45, 727-748. doi: 10.1007/s11165-014-9437-7.

Hengsagulwong, C. (2015). Fostering grade 10 Students’ scientific creativity through Integrated game with context-based learning in the topic of force and motion. (Master of Education, Kasetsart University). [in Thai]

Hu, W. & Adey, P. (2002). A scientific creativity test for secondary school students. International Journal of Science Education, 24(4), 389-403. doi:10.1080/ 09500690110098912.

Hung, W. (2015). Cultivating creative problem solvers: The PBL style. Asia Pacific Education Review, 16, 237-246. doi: 10.1007/s12564-015-9368-7.

Junthon, B. (2015). The Development of Grade 11 Students’ Scientific Creativity in the Learning Unit of Equilibrium Using 5E’s Scientific Inquiry Learning Approach. (Master of Education, Kasetsart University). [in Thai]

Khumkhuan, T., Jantarakantee, E. & Wanttana-amorn, P. (2015). Grade-10 students’ scientific creativity and gender. In Bangkok, 53rd Kasetsart University Annual Conference. (31-38). Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]

Lou, S. J., Lui, Y. H. & Shin, R. C. (2011). The senior high school students’ learning behavioral model of STEM in PBL. International Journal of Science and Mathematics Education, 21(2), 161-183. doi: 10.1007/s10798-010-9112-x.

Root-Bernstein, R. (2015). Arts and crafts as adjuncts to STEM education to foster creativity in gifted and talented students. Asia Pacific Education Review, 16, 203-212. doi: 10.1007/s12564-015-9362-0.

Wurdinger, S. & Qureshi, M. (2015). Enhancing College Students’ Life through Project Based Learning. Innovation High Education, 40(3), 279-286. doi: 10.1007/s10755-014-9314-3.

Zhou, C. (2012). Integrating creativity training into Problem and Project-Based Learning curriculum in engineering education. European Journal of Engineering Education, 37(5), 488-499. doi: 10.1080/03043797. 2012.714357.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2019