การพัฒนารูปแบบการจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้การตลาดบนอินเทอร์เน็ต
คำสำคัญ:
การจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์, การตลาดบนอินเทอร์เน็ตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ การดําเนินการ ปัจจัยหรือเงื่อนไข และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) และความต้องการ ของการจัดการตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยใช้การตลาดบนอินเทอร์เน็ต 2) พัฒนารูปแบบการจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยใช้การตลาดบน อินเทอร์เน็ต 3) ทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้การตลาดบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบ การวิจัยและพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า:
เกษตรกรส่วนใหญ่จําหน่ายผลผลิตให้กับสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ โดยให้ความสําคัญกับการควบคุม กระบวนการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่ง ราคาสินค้าของกลุ่มขึ้นอยู่กับคุณภาพผลผลิต ทั้งนี้ เกษตรกรมีลําดับความต้องการในการจัดการตลาด ดังนี้ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการจัดจําหน่าย ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์มีการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) บล๊อก (Blog) และ เว็บไซต์ (Website)
รูปแบบการจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยใช้ การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เรียกว่า “TOPWAS Model” ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ปัจจัยในการจัดการ 2) กระบวนการจัดการ 3) ผลการจัดการตลาด โดย กระบวนการจัดการตลาดมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ตลาด เป้าหมาย (Target Market) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Certificated) การนําเสนอ (Presentation) ภูมิปัญญา (Wisdom) การเพิ่มมูลค่า (Added Value) และ เรื่องราว (Story) ซึ่งมีการวางแผนและสร้างกิจกรรมที่ สัมพันธ์กันกับแนวคิดการจัดการตลาด และการตลาดบน อินเทอร์เน็ต ที่มีความเชื่อมโยงกันในลักษณะของ การบูรณาการ (Integration) และมีความเป็นองค์รวม (Holistic) โดยผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่าผลการทดสอบ ความรู้เกษตรกรผู้ผลิตระบบอินทรีย์มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ การทดสอบความสามารถ 3 ด้าน คือ ด้านการวางแผน การตลาด ด้านความคิดสร้างสรรค์และด้านความเป็นไปได้ พบว่า มีระดับคุณภาพพอใช้และการประเมินความคิดเห็นที่ มีต่อรูปแบบ “TOPWAS Model” มีความคิดเห็นด้วยใน ระดับมาก โดยการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติการ (AAR) เกษตรกรเสนอให้มีการปฏิบัติ (Work shop) และให้ผู้ดูแลให้ คําปรึกษาในการทําการตลาดบนอินเทอร์เน็ต
References
Hamzaoui, E. L., & Mehdi, Z. (2008). Decision making process of community organic food Consumers an exploratory study. Journal of Consumer Marketing, 25, 95-104.
Kotler, Philip. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation and control. 9th ed. New Jersey: A Simon & Schuster.
Koontz Harold D. and Cyrill O’ Donnell. (1972). Principles of Management: An Analysis of Managerial Functions. New York: McGraw-Hill.
Lertpanich, K. (2012). Channel of Agricultural goods Selling in Social Network. Technology King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. [in Thai]
Lorlowhakarn, S. (2007). Organic Businees. National Innovation Agency. Ministry of Science and Technology. [in Thai]
National Center for Appropriate Technology (NCAT). (2012). Social Media Tools for Farm Product Marketing. August 2012, (1-13).
Prasitwisate, G. (2014). Online Marketing. Teaching publications. Suan Dusit Rajabhat University. [in Thai]
Prachasan, S. and others. (2012). Farmer Marketing Options: Structural Impact on Unfairness and Distribution of Benefits. Sustainable Agriculture Foundation Thailand. [in Thai]
Panyakul, V. (2006). Sustainable Agriculture: The Future of Agriculture. Greennet. [in Thai]
Pornudomthap, S. (2013). The Consumer Behavior to Organic Rice Online Marketing base on Facilitating Access to Electronic Commerce Uttaradit Province. Faculty of Management Science. Uttaradit Rajabhat University. [in Thai]
Serirat, S. & others. (1995). Organization and Management. Bangkok: Dhammasarn. [in Thai]
Serirat, S. & others. (1995). Marketing management. Bangkok: Theera Film and Scitex. [in Thai]
Sitthiyot, T. (2010). Why does the creative economy?. Executive Journal. 30(1).[in Thai]
Thaweesuk, P. (2015). Thai Entrepreneur’ s Opinion on Marketing Mix Strategy for Organic Rice. Suthiparithat Journal. 29(92) [in Thai]
Sommitr. K. (2010). Innovative Management for Changing Production Behavior and Consumption from Organic Agricultural Products to Organic Products. In Social Entrepreneurship: A Case Study of Sustainable Community Farming Institutions Chiang Mai Province. Research The Far Eastern University. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)