การส่งเสริมความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
คำสำคัญ:
ความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องแรง กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 28 คน ในปีการศึกษา 2559 ซึ่งเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจง จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี การรวบรวมข้อมูลทำโดยใช้แบบวัดความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นเองทั้งก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้ บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ และอนุทินสะท้อนความคิด ข้อมูลที่ได้ถูกแปลผลเป็นคะแนน และบันทึกเป็นค่าความถี่ของจำนวนนักเรียนตามระดับคะแนน ของทั้ง 3 ตัวชี้วัด และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์สูงขึ้นทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยหลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนสามารถสร้างคำอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ พยากรณ์ปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ และพิจารณาความสมเหตุสมผลของการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ได้ถูกต้องสอดคล้องกับแนวคิดที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับในปัจจุบันมากขึ้น สำหรับแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องแรงที่ส่งเสริมความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การอภิปรายร่วมกัน การถามคำถาม การทำงานเป็นกลุ่ม การทดลอง และการออกแบบการทดลอง
References
Abd-El-Khalich, F. & Lederman, N. G. (2000). The influence of history of science courses on students' views of nature of science. Journal of Research in Science Teaching, 37(10), 1057-1095.
American Association for the Advancement of Science (AAAS). (1990). Science for all Americans. New York: Oxford University Press.
Faikhamta, C. (2011). Methods of Teaching Science at Elementary Level. Bangkok: April Rain Printing. [in Thai]
Foundation for Consumers. (2016). "Ring" weight loss does not help lose weight. Retrieved from http://www.consumerthai.org/news-consumerthai/consumers-news/food-and-drug/2131-2013-05-26-13-51-09.html. [in Thai]
Jamjai, O. (2014). The Development of Grade 9 Students’ Ability in Making Scientific Explanation Using Argumentation and Inquiry Approach. Master of Art in Teaching Thesis in teaching Science, Kasetsart University. [in Thai]
Khamtad, W. (2015). 5E Model of Instruction. The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology Magazine, 43(196), 25-30. [in Thai]
Lincharean, A. (2012). Qualitative Data Analysis Techniques. Journal of Education Measurement Mahasarakham University,17(1), 17-29. [in Thai]
Musikul, K. (2015). Scientific Inquiry.Retrieved from http://earlychildhood.ipst.ac.th/archives/53. [in Thai]
Naksanguan, M. (2013). The development of grade 5 Students’ concept of force and pressure by inquiry-based learning, Master of Art in Teaching Thesis in teaching Science, Kasetsart University. [in Thai]
National Research Council [NRC]. (1996). National science education standards. Washington, D.C.: National Academy Press.
Pitiporntapin, S. (2015). 21st Century Learning Management with Science.Samut Prakan: Boss Printing.[in Thai]
Sinman, R. (2009). An Application of Learning Activity Through Inquiry Cycle (5E) to Develop Science Competency of Mathayomsuksa III Student at Thairatwittaya Klongluang 69 School, Patumthanee Province, Master of Education Thesis in Educational Research and Statistics, Srinakharinwirot University. [in Thai]
Thanaboonsombat, B. (2010). GT200 Case Technical View & Remarks for the Future. Retrieved from https://www.sarakadee.com/ 2012/07/17/gt200/ April 2, 2016. [in Thai].
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2011). PISA Thailand. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. [in Thai]
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2013). Professional Science Teacher Effective teaching methods. Bangkok: Inter education Supplies. [in Thai]
Visetkaew, P. (2010). The Development of Scientific Concepts about Force and Pressure of Grade 5 Students using Predict-Observe-Explain (POE), Journal of Education Graduate Studies Research Khon Kaen University, 4(3), 61-67. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)