การศึกษาพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในครอบครัวข้ามรุ่น ในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วิลาวรรณ วาทโยธา สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชลาธิป สมาหิโต ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การอบรมเลี้ยงดู, ครอบครัวข้ามรุ่น, ปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในครอบครัวข้ามรุ่นใน จังหวัดมหาสารคามในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกครอบครัวเด็กปฐมวัยที่เป็นครอบครัวข้ามรุ่น จำนวน 5 ครอบครัวที่พ่อแม่ย้ายถิ่นฐานไปทำงานในเมืองใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการศึกษา พบว่าตายาย ส่วนใหญ่เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้วยความรักความเอาใจใส่ บางครอบครัวเลี้ยงเชิงควบคุม ส่วนใหญ่ตายายจัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ให้แก่เด็ก ดูแลสุขภาพอนามัยเด็กและพาไปพบแพทย์ตามความเหมาะสม ด้านอารมณ์พบว่าเด็กมีความร่าเริงแจ่มใสเมื่อตายายตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานแก่เด็กและเมื่อตายายมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม ตายายส่งเสริมทักษะทางสังคมแก่เด็กโดยการสอนให้เด็กรู้จักบุคคลและสิ่งต่างๆรอบตัว พาเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา ปลูกฝังให้เด็กมีความประพฤติดี มีคุณธรรม จริยธรรม ด้านสติปัญญาพบว่าตายายส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาให้เด็กผ่านการเรียนรู้ในกิจวัตรประจำวัน ผ่านการเล่น และสนับสนุนเด็กด้านการเรียน โดยได้นำประสบการณ์ที่เคยเลี้ยงดูลูกของตนมาเลี้ยงดูเด็ก การอบรมเลี้ยงดูเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของแต่ละช่วงวัย โดยให้เด็กได้รับการพัฒนาไปตามธรรมชาติของเด็กแบบองค์รวม โดยดูตามความเหมาะสม ความพร้อมของเด็กและความสามารถของครอบครัวในการจัดเตรียมสิ่งจำเป็นให้แก่เด็ก

References

Boonteetaisong, S. (2008). A Study of Child Care Behaviors of Parents of 0-5 Years Old Children in Takrutkruaplok Village, Chakkarat Subdistrict, Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. Retrieved from http://tdc.thailis.or.th. [in Thai]

Chitayasothorn, D. (2009). Daina Baumrind’s Parenting Styles, Retrieved from http://utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/journal_book.php?journal_id=19. [in Thai]

Issaranurak, S., & Suttisukon, P. (2007). Childrearing. Retrieved from http://repository.li.mahidol.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1591/3/ad-ar-sirikul-2550.pdf. [in Thai]

Kowtrakul, S. (2016). Educational Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Mahidol University &UNICEF. (2016). The Impact of Domestic Migration on Health and Development of Young Children. Retrieved from https://www.unicef.org/thailand/tha/UNICEF_CLAIMS_Report_Thai.pdf. [in Thai]

Prapleutkit, N. (1996). Developing Young Children. Bangkok: Odian Store. [in Thai]

Provincial Development Strategy Group. (2013). Maha Sarakham Development Plan 2015-2018. Retrieved from http://www.mahasarakham.go.th/mkweb/images/yut/plan_2558-2561.pdf. [in Thai]

United Nations Populations Fund, Office of the National Economic and Social Development Board. (2015). Thai Families in the Age of Born Less and Live Long. Retrieved from https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/State%20of%20Thailand%20Population%20report%202015-Thai%20Family_th.pdf. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2019