การพัฒนาทักษะการนําเสนองานของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยใช้วิธีการสอนแบบเน้นการปฏิบัติ
คำสำคัญ:
ทักษะการนําเสนอ, วิธีการสอนแบบเน้นปฏิบัติ, นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนาทักษะการนําเสนองานของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยใช้วิธีการสอนแบบเน้นการปฏิบัติกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จํานวน 40 คน ประกอบด้วยนักศึกษาไทย 32 คน นักศึกษาจีน 3 คน นักศึกษาญี่ปุ่น 2 คน นักศึกษาพม่า 2 คนและนักศึกษาเขมร 1 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการนําเสนอ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 มีการทดสอบก่อนและหลังการเรียนการสอน 6 บท ในระหว่างภาคการศึกษานักศึกษาแต่ละคนต้องนําเสนองาน จํานวน 4 ครั้ง นอกเหนือจากการสอบก่อนและหลังการเรียนการสอน และมีการสร้างเกณฑ์การให้คะแนนการนําเสนอของนักศึกษาด้วย ข้อมูลที่ได้นํามาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 13.89 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.566 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 21.45 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.366 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าวิธีการสอนดังกล่าวมีประสิทธิภาพและสามารถพัฒนาทักษะการนําเสนองานของนักศึกษาได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.01 ผลการสัมภาษณ์ พบว่า วิธีการสอนดังกล่าว มีความเป็นระบบระเบียบ ช่วยให้นักศึกษาได้สร้างความคิด ประเมินและปรับปรุงการนําเสนอของตนเอง และทําให้เป็นคนใฝ่รู้ในการหาข้อมูลที่สําคัญมาสนับสนุนห้วข้อการนําเสนอของตนเอง
References
Crystal, D. (2003). English as a second language. Cambridge: Cambridge University Press.
Hibbard, M. (1999). Teacher’s guide to performance-based learning and assessment. Connecticut: Association for Supervision and Curriculum Development.
Karkehabadi, S. (2013). Using rubrics to measure and enhance student performance. Northern Virginia Community College. Retrieved from https://www.nvcc.edu/assessment/_docs/FTW5.usingrubricsmeasurestuperf-spr13.pdf.
Lundgaad, G. (2015). The A-B-Cs to a performance-based learning plan. The Language Educator, Jan-Feb, 2015, 32-35.
Merrit, A. (2013). Why learn a foreign language? Benefits of bilingualism. Retrieved from https://www.telegraph.co.uk/education/educationopinion/10126883/Why-learn-a-foreign-language-Benefits-of-bilingualism.html.
Numkanisorn, P. (2018). Thai learners’ skills in the 21st century. Kasetsart Educational Review, 33(1), 59-68. [in Thai]
Stanford University of Education. (2011). What is performance-based assessment? Stanford, CA: Stanford University School of Education.
Stanley, T. (2014). Performance-based assessment for 21st century skills. Waco, TX: Prufrock Press.
Trilling, B. & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)