การประเมินสุขภาพก่อนการออกกําลังกาย

ผู้แต่ง

  • สมบัติ อ่อนศิริ ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐชนนท์ ซังพุก ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อาคม ทิพย์เนตร โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
  • สุกัญญา อุทามนตรี โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

คำสำคัญ:

การประเมินสุขภาพ

บทคัดย่อ

การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง แต่การออกกำลังกายในขณะที่ร่างกายไม่พร้อมหรือมีโรคประจำตัวอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรืออาจจะเสียชีวิตในขณะออกกำลังกายได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากการออกกำลังกายในขณะที่ร่างกายไม่พร้อม เราควรจะให้ความสำคัญต่อการประเมินความพร้อมด้านสุขภาพก่อนการออกกำลังกายเพื่อคัดกรองผู้เป็นโรคหัวใจหรืออาจจะมีอาการแสดงของโรคหัวใจหรืออาการอื่นๆที่อาจจะเป็นอันตราย สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American College of Sport Medicine: ACSM) ได้ให้คำแนะนำการประเมินสุขภาพและความพร้อมในการออกกำลังกายไว้ 3 ขั้นตอนดังนี้ 1. การประเมินสุขภาพและความพร้อมก่อนการออกกำลังกายการด้วยตนเอง 2. ประเมินลักษณะอาการของโรคที่มีความเสี่ยงสูงต่อการออกกำลังกาย 3. การคัดกรองปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

References

American College of Sports Medicine. (2013). ACSM's guidelines for exercise testing and prescription. Lippincott Williams & Wilkins.

Chisholm, D. M., Collis, M. L., Kulak, L. L., Davenport, W., & Gruber, N. (1975). Physical activity readiness. British Columbia Medical Journal, 17(2), 375-378.

Garber, C. E., Glass, S. C., Hamm, L. F., & Kohl, H. W. (2006). ACSM's resource manual for guidelines for exercise testing and prescription. L. A. Kaminsky, & K. A. Bonzheim (Eds.). Baltimore, MD: Lippincott Williams & Wilkins.

Nieman, D. C. (2003). Exercise testing and prescription (pp. 63-65).

Northcote, R. J., Flannigan, C. L. A. R. E., & Ballantyne, D. A. V. I. D. (1986). Sudden death and vigorous exercise--a study of 60 deaths associated with squash. British heart journal, 55(2), 198-203.

Warburton, D. E., Jamnik, V. K., Bredin, S. S., & Gledhill, N. (2011). The physical activity readiness questionnaire for everyone (PAR-Q+) and electronic physical activity readiness medical examination (ePARmed-X+). The Health & Fitness Journal of Canada, 4(2), 3-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2019