การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานเคมี
คำสำคัญ:
กิจกรรมเสริมหลักสูตร, ความก้าวหน้าการเรียนรู้, ความเข้มข้นของสารละลาย, การเจือจางสารละลายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตร สำหรับพัฒนาความเข้าใจพื้นฐานเคมีเรื่องความเข้มข้น และการเจือจางสารละลาย สำหรับนักศึกษาภาควิชาเคมี ระดับปริญญาตรี โดยใช้ปฏิบัติการทดลองแบบย่อส่วน และกิจกรรมทบทวนความเข้าใจ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 (77 คน) และ ชั้นปีที่ 2 (81 คน) โดยจัดกลุ่มนักศึกษาตามผลคะแนนทดสอบก่อนเข้าร่วมกิจกรรม แบบแผนที่ใช้ในการวิจัยคือ one-group pretest-posttest design จากผลวิเคราะห์ความก้าวหน้าการเรียนรู้แบบรายข้อ และรายบุคคลโดยวิธี normalized gain พบว่า นักศึกษากลุ่มที่มีพื้นฐานอ่อนและพื้นฐานปานกลางมีพัฒนาการที่ดี โดยเฉพาะในโจทย์ที่วัดความเข้าใจ แต่ในโจทย์ที่วัดการประยุกต์และการวิเคราะห์ พบว่านักศึกษาสามารถคำนวณน้ำหนักมวลสารของตัวอย่างได้ รู้นิยามของการเจือจางสารละลาย แต่ยังมีปัญหาในการเชื่อมโยงความรู้ ในส่วนของผลลัพธ์ด้านทัศนคติ พบว่านักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อกิจกรรม นักศึกษาส่วนใหญ่ในกลุ่มที่มีพื้นฐานอ่อนระบุว่า องค์ประกอบที่ช่วยให้เข้าใจปฏิบัติการเคมีพื้นฐานได้มากที่สุด คือ กิจกรรมการทดลอง ขณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่ในกลุ่มที่มีพื้นฐานปานกลาง ระบุว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน
References
Fredricks, J. & Eccles, J. (2006). Is extracurricular participation associated with beneficial outcomes? Concurrent and longitudinal relations. Developmental Psychology, 42(4), 698-713.
Hake, R. (1998). Interactive-engagement and traditional methods: A six-thousand survey of mechanics test data for introductory physics courses. American Journal of Physics. 66, 64-74.
Ketsingha, W. (1995). Interpretation of mean scores. Journal of Education Research News. 18 (3), 8-11. [in Thai]
McKee, E., Williamson, V. M., & Ruebush, L. E. (2007). Effects of a demonstration laboratory on student learning. Journal of Science Education and Technology, 16, 395-400.
Niyomka, S. (2531). Theory and practice of inquiry based science teaching. Bangkok: General Book Center.
Phenglengdi, B. (2018). Teaching and Learning Chemistry by Applying Three Levels of Thinking. Kesetsart Educational Review, 33(2), 145-157. [in Thai].
Pruekpramool, C. (2014). Assessing science process skills. Suthiparithat,28, 353-364. [in Thai].
Royal Society of Chemistry. (2013). Supporting Technical Skills in the Chemical Industry. Full paper retrieved from http://www.rsc.org/ globalassets/04-c ampaigning-outreach/policy/education-po licy/supporting-technical-skills-in-the-chemical-industry-2013.pdf.
Stuckey, M., Hofstein, A., Mamlok-Naaman, R., & Eilks, I. (2013). The meaning of ‘relevance’ in science education and its implications for the science curriculum. Studies in Science Education, 49: 1-34. doi: 10.1080/03057267.2013.802463.
Tantayanon, S. (2011). Small Scale Organic Chemistry for Teaching Higher Education Teaching. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
The Federations of Thai Industries. (2017). Chemical Industry. Retrieved from Federations of Thai Industries website: http://webcache.google usercontent.com/search?q=cache :Mi-kuBEn6bcJ:ftiweb.off.fti.or.th/ demo/ 6101/sitedata/site16/ articles. [in Thai]
Tongchai, A., Arayathanitkul, K., Soankwan, C., Emarat, N., & Chitaree, R. (2007). A new assessment method by using pre-test and post-test scores. Huachiew Chalermprakiet University Journal, 11 (21), 86-94. [in Thai]
A new assessment method by using pre-test and post-test scores. Huachiew Chalermprakiet University Journal, 11(21), 86-94. [in Thai].
Walsh, J. A., & Sattes, B. D. (2011). Thinking through quality questioning: Deepening student engagement. Thousand Oaks, CA: Corwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)