ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี, สะเต็มศึกษา, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Content Knowledge: TPACK)ให้มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาด้านการปฏิบัติการสอนของครูวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา(STEM Education) สะท้อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 ท่าน ที่เป็นครูพี่เลี้ยงทำงานร่วมกับอาจารย์นิเทศที่ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยผ่านรูปแบบการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์(Co-TPACK Model) ระหว่างนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ครูพี้เลี้ยง  และอาจารย์นิเทศ โดยข้อมูลวิจัยนี้ประกอบด้วยข้อมูลจากการสะท้อนการเรียนรู้ของครู การสังเกตการเรียนการสอน การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบใช้สถานการณ์ และจากการวิเคราะห์เอกสารการสอนต่างๆ งานวิจัยนี้มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods) โดยใช้กรอบแนวคิดการตีความ(Interpretivist Framework) โดยมีการนำเสนอผลวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อครูวิทยาศาสตร์เข้าร่วมในโครงการพัฒนาวิชาชีพครู(Co-TPACK) นี้พบว่าครูวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาความรู้ผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีที่แสดงในการออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์(Engineering Design Process)  โดยมีการสะท้อนถึงความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าทั้งครูพี่เลี้ยงมีการพัฒนาความเข้าใจการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในประเด็นของความหมาย นิยาม ที่มาและความสำคัญของการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้สะเต็มศึกษา ที่เชื่อมโยงเรื่องทักษะในศตวรรษที่21การออกแบบและวางแผนเรื่องแนวคิดวิทยาศาสตร์ในเชิงบูรณาการที่ท้าทายนักเรียน โดยการกระตุ้นการประยุกต์ใช้ชิ้นงานที่สำเร็จในการดำรงชีวิต และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สะเต็มศึกษา  โดยครูพี่เลี้ยงวิทยาศาสตร์สามารถสร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาได้ด้วยตนเอง สามารถสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาแบบบ่งชี้ถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้(Explicit Teaching) และการพัฒนาที่เกิดขึ้นกับครูวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้มีความยั่งยืนโดยเห็นได้จากแผนการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติการสอนของครูวิทยาศาสตร์ในระยะเวลา 4 ปี ในการศึกษาต่อไปนักวิจัยและนักการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาควรมีการศึกษาเพิ่มเติมประเด็นของความเชื่อมั่นความสามารถของตนเองกับความรู้ประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของครูวิทยาศาสตร์

Author Biography

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Department of General science

References

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). 2015. STEM Education Handbook for Grade 4-6. Bangkok: Business Organization of the Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel.

Bandura, A. (1997). Personal efficacy in psychobiologic functioning. In G. V. Caprara (Ed.), Bandura: A leader in psychology (pp. 43-66). Milan, Italy: Franco Angeli.

Chatmaneerungcharoen, S. 2012a. Factors that Promote a Co-Teaching Model for a Successful Professional Development Strategy for Thai In-service Science Teacher. KKU Research Journal 2(1): 51-75.

Chatmaneerungcharoen, S. 2012b. “Professional Development Program for Thai In-service Science Teachers: A Development of Pedagogical Content Knowledge thought a Co-teaching Model. EJJS Research Journal.

Jerald, C. D. 2007. Believing and Achieving (Issue Brief). Washington DC.: Center for Comprehensive School Reform and Improvement.

Magnusson, S., J. Krajcik, and H. Borko .1999.Nature, Sources, and Development of Pedagogical Content Knowledge for Science Teaching. In J. Gess-Newsome and N.G. Lederman (Eds.), Examining Pedagogical Content Knowledge: The Construct and its Implications for Science Education (pp. 95-132). Dordrecht: Kluwer. Netherlands: Kluwer Academic Publisher.

Mishra, P., and Koehler, M. J. 2006. Technological Pedagogical Content Knowledge: A new framework for teacher knowledge. Teachers College Record.108 (6), 1017-1054.

Mishra, P., and Koehler, M. J. 2008. Introducing Technological Pedagogical Content Knowledge. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association, New York.

Office of the Education Council (ONEC). (2008). The Strategy for Developing Educational Quality (2008-2012). Bangkok: Prick Warn Graphic.

Shulman, L. S. 1986. “Those Who Understand: Knowledge Growth in Teaching”. Educational Researcher.15 (2): 4-14.

The Secretarial of the House of Representatives. (2016). Teacher Problems: Problem Awaiting Reform. Retried from http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2559/hi2559-091.pdf.

Sutthinarakorn, W. (2017). Thailand Education Future in the Context of Thailand 4.0 in Abhisit Vejjajiva’s Perspective. Kasetsart Educational Review, 32(1), 47-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2019