การศึกษาแนวคิดก่อนเรียน เรื่องปฏิกิริยาสะเทิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ศุภรัสมิ์ ค้ายาดี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทัศนีวรรณ์ เลิศเจริญฤทธิ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แนวคิด, แนวคิดทางเลือก, กรด-เบส, ปฏิกิริยาสะเทิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดก่อนเรียนเรื่อง ปฏิกิริยาสะเทินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนขนาดใหญ่ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบวัดแนวคิดชนิดเลือกตอบแบบสองชั้นและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการจัดกลุ่มแนวคิด ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของการสะเทิน นักเรียนส่วนมาก (ร้อยละ 66.67) เลือกคำตอบที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนักเรียนที่ตอบคำถามโดย มีแนวคิดทางเลือกที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ โดยให้ความหมายของการสะเทิน(ร้อยละ 16.67) ว่า ปฏิกิริยาสะเทิน คือ การเกิดปฏิกิริยากรดกับเบส แล้วผลิตภัณฑ์คือเกลือและน้ำ และแนวคิดเกี่ยวกับสมบัติของสารที่ได้จากปฏิกิริยาสะเทิน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่(ร้อยละ 23.33) ตอบว่า สารผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสมบัติเป็นกลาง เนื่องจาก เพราะ เป็นกรดแก่กับเบสแก่ มีความแรงของกรดเบสใกล้กัน และนักเรียนบางส่วน(ร้อยละ 16.67) ตอบว่า สารผลิตภัณฑ์จะมีสมบัติเป็นกลางเนื่องจาก กรดกับเบสจะเกิดการหักล้างกัน เพราะเมื่อผสมกันแล้วค่า pH จะหักล้างกันเองและทำให้ค่า pH กลับมาเป็นกลาง

References

Burana L. & Dahsah C. (2017). High School Students’ Understanding of Solution Concepts. Kasetsart Educational Review, 32(2), 9-17. [in Thai].

Cokelez, A. (2010). A Comparative Study of French and Turkish Students' Ideas on Acid-Base Reactions. Journal of Chemical Education, 87, 102-106.

Damanhuri, M. I. M., Treagust, D. F., Won, M. & Chandrasegaran, A. L. (2015). High School Students’ Understanding of Acid-Base Concepts: An Ongoing Challenge for Teachers. International Journal of Environmental & Science Education,11(1), 9-27.

Demircioglu, G. (2009). Comparison of the effects of conceptual change texts implemented after and before instruction on secondary school students’ understanding of acid-base concepts. Asia-Pacific Forum on Science Learning and Teaching, 10(2), 1-29.

Faikhamta, C. (2008). Student alternative conceptions in Chemistry.Journal of Education Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani campus, 19(2), 10-28. [in Thai].

Özmen, H., Demircioglu, G. & Coll, R. K. (2007). A Comparative Study of The Effects of A Concept Mapping Enhanced Laboratory Experience on Turkish High School Students Understanding of Acid-Base Chemistry. International Journal of Science and Mathematics Education, 7, 1-24.

Saglam, Y., Karaaslan, E.H. & Ayas, A. (2011). The Impact Of Contextual Factors On The Use Of Students’ Conceptions. International Journal of Science and Mathematics Education, 9(6), 1391–1413.

Rattiya, N. (2015). The Effects of 5Es Learning Cycle combined with Dynamic Visualization on Twelfth Grade Students’ Conception on Acid-Base. Master's thesis Science Education, Kasetsart University. [in Thai].

Schmidt, H. F. (1995). Applying the concept of conjugation to the Bronsted theory of acid-base reactions by senior high school students from Germany, International Journal of Science Education,17(6), 733-741.

Schmidt, H. J. (1991). A label as a hidden persuader: chemists' neutralization concept. International Journal of Science Education, 13, 459-471.

Treagust, D. F. & Duit, R. (2008). Conceptual change: a discussion of theoretical, methodological and practical challenges for science education. Cultural Study of Science Education, 3, 297-328.

Tytler, R. and Peterson, S. (2000). Deconstructing Learning in Science- Young Children’s Responses to a Classroom Sequence on Evaporation. Research in Science Education, 30(4), 339-355.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019