ความสัมพันธ์ระหว่างทุนชีวิตกับรูปแบบการเลี้ยงดูในนักเรียนประจำที่มีความสามารถพิเศษทางวิชาการ

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล กลิ่นพุฒ สถาบันแห่งชาติเพื่อพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุริยเดว ทรีปาตี ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
  • พัชรินทร์ เสรี สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ทุนชีวิต, การอบรมเลี้ยงดู, นักเรียนประจำ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาทุนชีวิตในนักเรียนประจำที่มีความสามารถพิเศษทางวิชาการ และหาความสัมพันธ์ระหว่างทุนชีวิตและรูปแบบการเลี้ยงดูในนักเรียนประจำที่มีความสามารถพิเศษด้านวิชาการ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง เป็นเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนประจำ ที่ทำการสอนเฉพาะนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 จํานวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสํารวจทุนชีวิตเด็ก และเยาวชนไทย (ฉบับเยาวชน) และแบบสํารวจรูปแบบการเลี้ยงดู แบบวัดรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ทำการวิเคราะห์คะแนนทุนชีวิต ด้วยโปรแกรม microsoft excel     หาความสัมพันธ์ของตัวแปรทุนชีวิต ที่สัมพันธ์กับรูปแบบการเลี้ยงดู ด้วยสถิติ chi-square และวิเคราะห ความสัมพันธ์ของทุนชีวิตที่มีผลต่อรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่มีความสัมพันธ์ต่อคะแนนทุนชีวิต โดยวิธีการ ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการศึกษาพบว่าทุนชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี เม่ือพิจารณาต้นทุนชีวิตในรายพลัง พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีต้นทุนชีวิตผ่านเกณฑ์ 4 ใน 5 พลัง ได้แก่ พลังครอบครัว อยู่ในระดับดีมาก พลังตัวตน อยู่ในระดับดี พลังสร้างปัญญาและพลังเพ่ือนและกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนพลัง ชุมชน อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ซึ่งถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์ ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับรูปแบบการเลี้ยงดู พบว่ารูปแบบการอบรมการเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์กับทุนชีวิตด้านพลังครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 เมื่อวิเคราห์ความ    สัมพันธ์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ พบว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน และแบบใช้เหตุผล ส่งผลให้มีคะแนนทุนชีวิตด้านพลังครอบครัวอยู่ในระดับ ระดับ ดี-ดีมาก  ร้อยละ 94.74 และ 94.19 ตามลำดับ  ส่วนการเลี้ยงดูแบบควบคุม มีคะแนนทุนชีวิตด้านพลังครอบครัว อยู่ในระดับ ระดับ ดี-ดีมาก  ร้อยละ 57.17 สำหรับทุนชีวิตด้านพลังตัวตน พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน ไม่พบความสัมพันธ์ ผลการ     วิเคราะหความสัมพันธ์โดยวิธีการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ พบว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน และแบบใช้เหตุผล มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อคะแนนทุนชีวิตใน พลังครอบครัวและพลังชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าการอบรมเลี้ยงดูบุตรแบบรักสนับสนุน และแบบใช้เหตุผล ทำให้บุตรได้รับ ความรัก ความอบอุ่น เอาใจใส่ และการสนับสนุนในทางที่ดีจากครอบครัว ทำให้ตัวตนของบุตรเข้มแข็ง ส่งผลไปยังการเรียน และการทำกิจกกรรมระหว่างเพื่อนในโรงเรียน สะท้อนให้เห็นในทุนชีวิตในด้านพลังครอบครัว พลังตัวตน พลังสร้างปัญญา และพลังเพื่อนและกิจกรรม สำหรับทุนชีวิตด้านพลังชุมชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ เป็นเพราะนักเรียนมองว่าโรงเรียนประจำก็ถือเป็นชุมชนแบบหนึ่งที่เขาอาศัยอยู่ ดังนั้นเมื่อเขาประพฤติตนเป็นนักเรียนที่ดี ย่อมเป็นการช่วยเหลือชุมชนหรือสังคมอยู่แล้ว  ซึ่งสิ่งเหล่าน้ีจะต้องอาศัย การสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิด ความเช่ือมโยงระหว่าง สถาบันครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ช่วยการสนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชุมชนให้มากข้ึน 

References

Archaree, C. (2007). Factors affecting on interpersonal relationship between students and their peer groups of the third level, secondary grades 1-3 students of Inburi school in Inburi distric, Singburi province. Bangkok Srinakharinwirot. [in Thai]

Bellis, (2013). Childhood happiness and violence: a retrospective study of their impacts on adult well-being. BMJ Open, September 20, 3(9), e003427.

Narathip, S. & Suriyadeo, T. (2013) . Life Assets in Academically Talented Students: Case Study of the Participants in International Mathematics and Science Olympiad 2013. Journal of Psychiatric Association of Thailand., 59(2), 151-162. [in Thai]

Nick Duffell, (2014). Why boarding schools produce bad leaders. Guardian News & Media, Retrieved from: https://www.theguardian.com/ education/2014/jun/09/boarding-schools-bad-leaders-politicians-bullies-bumblers.

Kessarinthorn, (2013). The Effects of Child Rearing Practice on Father Role Expectation of Male Students At Srinakharinwirot University. Master’s Project, M.Ed. (Developmental Psychology). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.[in Thai].

Permanent Secretary, Ministry of Education. (2014). The Eleventh Education Development Plan (2012-2016). Retrieved from http://www.bps.moe.go.th. [in Thai]

Permanent Secondary, Ministry of Education., (2016). Factors affecting academic achievement of secondary school students. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand.

Promchai, D. (2010). Some factors on personal characteristics and environment contributed to life skills of undergraduate students in Mahidol University. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Sanhatai, V. (2007). The contributions of biosocial factors and parenting practices to the multilateral reasoning ability of the vocational students in Bangkok Metropolis. Master Degree Thesis, Srinakharinwirot University. [in Thai]

Subcommittee on Family Affairs, Office of the Permanent Secretary, Government of the Prime Minister., (2540). Family Development. Bangkok Thailand.

Somsuda, P. (2009). Influence of parenting style , temples attendance on gratitude. Kasetsart Education Review, 17(2), 29 – 39. [in Thai]

Suriyadeo, T. (2000). The National survey of Life assets (Positive youth Development) of secondary school students in Thailand. Journal of Psychiatric Association of Thailand., 52 ,36-43). [in Thai]

Suriyadeo, T. (2017). Adaptation in adolescents. Retrieved from http://www.nicfd.cf.mahidol.ac.th/th/index.php/guestteacher/adaptation. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30