ผลของการฝึกกระโดดเชือกที่มีต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกส้นเท้า และสุขสมรรถนะในหญิงวัยรุ่น
คำสำคัญ:
กระโดดเชือก, ความหนาแน่นของมวลกระดูก, กระดูกส้นเท้า, สุขสมรรถนะ, หญิงวัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ การฝึกกระโดดเชือกต่อความหนาแน่นของมวลกระดูก ส้นเท้า และสุขสมรรถนะ ในกลุ่มหญิงวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ อาสาสมัคร หญิงวัยรุ่นที่มีสุขภาพดีอายุ 18 – 21 ปีจํานวน 50 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฝึกกระโดด เชือก จํานวน 25 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จํานวน 25 คน กลุ่มฝึกกระโดดเชือกทําการฝึกกระโดดเชือก วันละ 20 นาทีสัปดาห์ละ 3 วัน เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ส่วนกลุ่ม เปรียบเทียบได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ สําหรับวัยรุ่นเป็นจํานวน 2 ครั้ง โดยใช้ระยะเวลาใน การอบรมครั้งละ 2 ชั่วโมง ผู้วิจัยทําการทดสอบความ หนาแน่นของมวลกระดูกส้นเท้า และสุขสมรรถนะในก่อน และหลังการทดลอง นําผลที่ได้มา หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” โดยทดสอบความมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการวิจัยพบว่า หลังจากการฝึก กระโดดเชือก 16 สัปดาห์กลุ่มฝึกกระโดดเชือกมีค่าเฉลี่ย ของสุขสมรรถนะดีขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมี นัยสําคัญทางสถิตที่ระดับ .05 แต่ความหนาแน่นของมวล กระดูกส้นเท้าไม่แตกต่างกัน
References
Chen, C. C. & Lin, S. Y. (2010). The impact of rope jumping exercise on physical fitness of visually impaired students. Research In Developmental Disabilities, (32), 25–29.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Gomaratat, C. (2006). Traditional Thai sports in midland. Bangkok: Sathaporn Books. [in Thai]
Jukping, N. (2010). A development of rope skipping aerobic model towards health-related fitness for early adolescent females. Master degree thesis, Faculty of Sports Science, Chulalongkorn University. [in Thai]
Kohrt, W. M., Bloomflield, S. A., Little, K. D., Nelson, M. E. & Yingling, V. R. (2004). Physical activity and bone health. Medicine and Science in Sport and Exercise, 36(11), 1985-1996.
Kuptniratsaikul, V. (2009). Osteoporosis a silent danger. Bangkok: P. A. Living. [in Thai]
Prasatritha, T. (2006). Knowing about osteoporosis. Bangkok: Ruean Panya. [in Thai]
Suthutvoravut, U. (2005). Peak bone mass and related factors. Faculty of Siriraj Medicine, Mahidol University. Retrieved from http://www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=170. [in Thai]
Wanitchanont, W. (2014). The Effect of,15 Minute Switch Feetjum ping Rope Upon Heart rate, Body Weight Blood Pressure and Cholesterol in Blood of the Students in Maejo University Phrae Campus. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 40(2), 14–28. [in Thai]
Wilmore, J. H., Costill, D. L. & Kenney, W. L. (2015). Physiology of Sport and Exercise 6th Edition. Champaign Illinois: Human Kinetics.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)