การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การบริการด้วยใจ เพื่อเสริมสร้างจิตบริการในการให้บริการของพนักงานบริษัท อินโนเวชั่นเทคโนโลยี จำกัด

ผู้แต่ง

  • อามิร่า อารยสมัย สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พนิต เข็มทอง ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, การบริการด้วยใจ, จิตบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง การบริการด้วยใจ เพื่อเสริมสร้างจิตบริการของพนักงานบริษัท อินโนเวชั่นเทคโนโลยี จำกัด กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ พนักงานบริษัท อินโนเวชั่นเทคโนโลยี จำกัด ฝ่ายช่างเทคนิค ตำแหน่งช่างเทคนิค จำนวน 50 คน ที่มีอายุงานไม่เกิน 2 ปี ที่สมัครใจเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองในการทำงานด้านการบริการ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การบริการด้วยใจ เพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง โดยมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดของ Saylor and Alexander เนื้อหาสาระของหลักสูตรสามารถแบ่งเป็น 4 หัวข้อ ประกอบด้วย หัวข้อที่ 1 ยิ้มแย้ม แจ่มใส พูดจาเป็นมิตร สื่อสารแบบกัลยาณมิตร หัวข้อที่ 2 ดูแลลูกค้าดุจญาติมิตร หัวข้อที่ 3 มุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ และหัวข้อที่ 4 พร้อมให้บริการ แบบคานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมขององค์กร ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีดังนี้ 1) แบบประเมินความรู้ ความความเข้าใจหลังการฝึกอบรม 2) การประเมินผลการฝึกปฏิบัติ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม 4) แบบสารวจความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม 5) แบบสารวจตนเองในสภาพปัจจุบันและสภาพความคาดหวังที่ควรจะเป็นของการมีจิตบริการในการปฏิบัติงานบริการ ของพนักงานบริษัท อินโนเวชั่นเทคโนโลยี จากัดสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า คะแนนเฉลี่ย 8.98 อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการฝึกปฏิบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 16.82 อยู่ในระดับดี สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม พบว่า พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มมีการปฏิบัติได้ดีในทุกพฤติกรรม 4) ผลการศึกษาความ พึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในภาพรวมพบว่าระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และ 5) ผลการศึกษาระดับความมีจิตบริการของตนเองในสภาพปัจจุบันและสภาพความคาดหวังที่ควรจะเป็นของการมีจิตบริการในการปฏิบัติงานบริการ พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ระดับความมีจิตบริการของตนเองในสภาพปัจจุบันโดยภาพรวมทุกรายการ อยู่ในระดับมากคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 และระดับสภาพความคาดหวังที่ควรจะเป็นของการมีจิตบริการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากเกือบทุกรายการ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ยกเว้น 2 รายการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ระดับความคาดหวัง มากที่สุด คือการเปิดใจรับฟังข้อคิดเห็นของลูกค้าคะแนน

References

Boonsri, S. (2008).Research and development of professional aptitude test. PrathumThani : Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]

Human Resources Department Innovation Technology Co., Ltd. (2017). Personnel development. Bangkok: Innovation Technology Co., Ltd.[in Thai]

Kongchim, P. (2011) The study of Customer’s Satisfaction and needs Toward Services of MHE-Demag(T) Company Limited. Master of Education Degree in Guidance and Counseling Psychology. Srinakharinwirot University. Bangkok [in Thai]

Nuchprayoon, N. (2015). Use of group activities: characteristics and development guidelines Student responsibility. Academic Journal Pathumthani University, 7(2), 84-92. [in Thai]

Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). Summary of the 12th National Economic and Social Development Plan 2017-2025. Bangkok: The Prime Minister's Office. [in Thai]

Prombuasri, P., Intana, J., Srimahunt, K. &Meebunmak, Y. (2015).Curriculum Development Humanized Care Competencies of Preceptors in Practicum Setting of Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi. Journal of Nursing and Education, 8(1), 129-151 [in Thai]

Srichada, T. (2017).Staff training in hospitality sector in order to enhance the service quality. VRU Research and Development Journal Humanities and Social Science,13(1), 228-235.[in Thai]

Sririporn, L., Jutarasaga, M., Charoensuk, S., Naraballob, F. & Santwapas, N. (2014) The Integrated Education Model of Systems Thinking and Humanized Health Care within Multi-Cultural Society, Praboromarajchanok Institute. Journal of Nursing and Education, 7(1), 39-54[in Thai]

Suksomsab, T. (2014).The Construction of training program on Professional Store Management for Operational Manager of Agent Business in Goods and Service Payment. Panyapiwat Journal, 5 (2), 75-89. [in Thai]

Thatthong, K. (2007). School curriculum development techniques.3rdedEdition. Nakhon Pathom: Phetkasem Printing. [inThai]

Vess, R. (2011). The development of a training model based on transformative learning concept and self-esteem theory to enhance service mind of airline personnel. Degree of Doctor of Philosophy Program in Non-formal Education Department of Lifelong Education. Bangkok :Chulalongkorn University. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2020