การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) และเฟซบุ๊ก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • ประวิทย์ การินทร์ โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอนทฤษฎี, คอนสตรัคติวิสต์, โปรแกรม The Geometer's Sketchpad, เฟซบุ๊ก, ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) และเฟซบุ๊ก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) และเฟซบุ๊ก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) และเฟซบุ๊ก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  และ  4) ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) และเฟซบุ๊ก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์ จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 28 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน  แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตาราง และการบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า EPRSEP Model มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 5) การนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการกระตุ้นเตรียมความพร้อม (Encouragement : E)  ขั้นที่ 2 ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา (Problem : P) ขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย (Reflection : R) ขั้นที่ 4 ขั้นเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อทั้งชั้น (Sharing : S) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Explanation : E) และขั้นที่ 6 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Practice : P) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.04/82.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

2. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดี

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Gemechu, D. (2016). The Effect of Geometry Sketchpad on the Academic Achievement of Student: The case of Bedele Seconday School. Department of Mathematics, Mettu University.

Joyce, B. & Weil, M. (1996). Models of Teaching. New York: Prentice Hall.

Kaemanee, T. (2017). Teaching: the Efficiency of Instructional. Bangkok: Chulalongkorn University Printing. [in Thai]

Kanadjebo, L. (2016). The Effects of “Geometry Sketchpad on Grade 12 Learners” Performance in Geometry. Ministry of Education, University of Namibia.

Kanjanarakpong, S. (2006). 5E instructional technics for develop advance thinking. Bangkok: Thanaksorn. [in Thai]

Lappan, G. & Schram, P. (1989). Communication and Reasoning: Critical Dimensions of Sense Making in mathematics, New Directions for Elementary School Mathematics 1989 Yearbook. Reston: Virginia.

Lertamornpong, C. (2016). Innovation and Technology for Teaching Mathematics. Faculty of Education, Kasetsart University. [in Thai]

Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand., LTD. Printing. [in Thai]

National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Principles and standards for school mathematics. Reston: Virginia.

Onnuam, D. (1992). Enhance Teaching Mathematics for primary school level teachers. Faculty of Education, Chulalongkorn University . [in Thai]

Poore, M. (2013). Using social media in the classroom: a best practice guide. London : SAGE.

Sinlarat, P. (2016). Education 4.0 more than education. Bangkok: Chulalongkorn University Printing. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2007). Skill / Mathematics Processes. Bangkok: Kurusapa Printing. [in Thai]

______. (2016). Internet Of Thing (IOT): When everything depend on Internet. Retrieved from http://oho.ipst.ac.th/internet-of-things/. [in Thai]

______. (2017). Evaluation for PISA 2015.Retrieved from https://pisathailand.ipst.ac.th/. [in Thai].

______. (2017). Evaluation for TIMSS.Retrieved from http://timssthailand.ipst.ac.th/. [in Thai].

Tipkong, S. (2016). Theory and Teaching Mathematics. Faculty of Education, Kasetsart University. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019