การประยุกต์ใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับหลักสูตร โครงการการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียน

ผู้แต่ง

  • ศิวดล ภาภิรมย์ สาขาวิชาสื่อนฤมิต คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พงษ์พิพัฒน์ สายทอง สาขาสื่อนฤมิต คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ชุดการเรียนรู้, หลักสูตรโครงการ D.A.R.E., ยาเสพติด, การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลในหลักสูตรโครงการ D.A.R.E. โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการออกแบบแบบมีส่วนร่วม 2) พัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรโครงการ D.A.R.E. และ 3) ศึกษาการรับรู้และความพึงพอใจของนักเรียนหลังทดลองใช้ชุดการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรโครงการ D.A.R.E. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1)กลุ่มผู้ที่มีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรโครงการ D.A.R.E. จำนวน 8 คน 2) นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ D.A.R.E. จำนวน 47 คน 3) นักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ D.A.R.E. จำนวน 6 คน และ 4) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณภาพชุดการเรียนรู้ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถามความต้องการ 3) ชุดการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรโครงการ D.A.R.E. ผลการวิจัย 4) แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง 5) แบบประเมินคุณภาพ 6) แบบประเมินการรับรู้ และ 7) แบบประเมินความพึงพอใจ พบว่า

  1. กลุ่มผู้ที่มีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรโครงการ D.A.R.E. มีความเห็นว่า เนื้อหาข้อมูลในหลักสูตรโครงการ D.A.R.E. ที่มีความเหมาะสมกับการพัฒนาชุดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) บุหรี่ 2) กัญชา 3) สุรา และ 4) ยาบ้า
  2. องค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาชุดการเรียนรู้ ที่ได้จากการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการออกแบบแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) ประเภทสื่อที่มีความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตรโครงการ D.A.R.E. 2) องค์ประกอบทางการออกแบบที่มีความเหมาะสมกับการพัฒนาชุดการเรียนรู้
  3. การประเมินคุณภาพชุดการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรโครงการ D.A.R.E. จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มีคะแนนเฉลี่ย 4.36 ซึ่งอยู่ในระดับมีคุณภาพดี การประเมินการรับรู้ของนักเรียนต่อการใช้ชุดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ย 2.95 ซึ่งอยู่ในระดับมีการรับรู้มาก และการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้ชุดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ย 2.91 ซึ่งอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก

 

References

D.A.R.E. Thailand. (2017). About D.A.R.E. Thailand. Retrieved from www.darethailand.com. [in Thai]

Daenkamsarn, R. (2016). Statistics of Drugs Arrests of Lao Police Station, Kosumpisai District, Maha Sarakham. in R. Daenkamsarn (Ed.). [in Thai]

Department of Mental Health. (2016). DMH News. Retrieved from www.prdmh.com. [in Thai]

Farkas, R.D. (2002). Effect(s) of Traditional Virus Learning Styles Instructional Methods On Seventh Grade Student Achievement, Attitudes, Empathy, and Transfer of Skills through a Study of the Holocauas.Dissertation Abstracts International. 63(4), 1243 – A.

National News Bureau of Thailand. (2017). Drugs Arrests in Maha Sarakham Province. Retrieved from www.tv11.prd.go.th. [in Thai]

Thairath Online. (2016). Police Instructor: D.A.R.E. 4.0. Retrieved from www.thairath.co.th. [in Thai]

Thienmongkol, R. (2013). New “Systems Theory”: A Design Configuration of the New Transit Map for Khon Kaen City. Journal of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University; (5(1)), 100-128.

Roongsomboon, P. & Chavalkul, Y. (2017). Factors Affecting to Efficiency of Participatory Design for Elderly Users. Built Environment Inquiry Journal (BEI): Faculty of Architecture, Khon Kaen University; 16(1), 127-142. [in Thai].

Saitong, P. (2015). The development of an Interactive Animation Info graphic for the Prevention Campaign on Road Traffic Accident in Khamriang Campus of Mahasarakham University. Journal of Liberal Arts, Thammasat University; (10(2)), 113-114. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30