ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กุลจิรา ทนงศิลป์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงเดือน สุวรรณจินดา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ปัญหาเป็นฐาน, ชีวิตในสิ่งแวดล้อม, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, เจตคติต่อวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่เรียนโดยจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและแบบปกติ เรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อมและ (2) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและแบบปกติ เรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อม

              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 74 คน จาก 2 ห้องเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดนครปฐม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจับฉลากให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน อีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อม และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

              ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

Laehsum, S. (2017). Effect of Problem-based Learning on Biology Achievement, Scientific Communication Skills and Attitudes towards Science of Grade 12 Students. Master Degree Thesis of Education in Teaching Science and Mathematics, Songkla University. [in Thai]

Makmee, P. (2011). Problem-based Learning. EAU Heritage Journal, 5(1), 7. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2014). Learning Process. Bangkok: N.p. [in Thai]

Srihaset, C. (2013). Comparison of Learning Achievements, Science Process Skills, and Attitudes towards Science Learning on ‘Bio-molecular Substances’ of Mathayom Suksa 6 Students between 4 MAT Learning Management and 7E Inquiry Learning Management. Nakhon Phanom University Journal, 3(3), 68. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2018). Course Guide Biological Science, Grade 9-10. Bangkok: The Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel Printing. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017). Indicatorsand core content Group learning science (Revised edition B.E. 2017) according to the Core Curriculum for Basic Education, 2008. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation Printing. [in Thai]

Thamabut, M. (2016). Psychology for Teachers. Bangkok: Chulalongkorn University Printing house. [in Thai]

Wongvichian, S. (2010). A Comparison of Academic Achievement and the Thinking Ability Required to Solve Problems on the Protection of the Rights of Consumers by Mathayom Suksa Five Students Studying in the Social Studies, Religion, and CultureLearning Strand using the Method of Problem-based Learning Management and the Method of Six Thinking Hats. Master Degree Thesis of Education (Teaching Social Studies), Ramkhamhaeng University. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020