การศึกษาเจตคติและพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบนอกห้องเรียน
คำสำคัญ:
เจตคติในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, วิธีสอนแบบนอกห้องเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เรื่อง “การศึกษาเจตคติและพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษาที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบนอกห้องเรียน” มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเจตคติและพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบนอกห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 62 คน ได้จากการสุ่มอย่างเจาะจงจากนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีเวลาเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 ของวิชา CEE 2204 (การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับเด็ก) หลังจากสอนด้วยวิธีสอนแบบนอกห้องเรียนจากแผนการสอนทั้งหมด 7 แผนได้มีการแจกแบบสอบถามให้แก่นักศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ t-test (Paired - Samples Test)
ผลการวิจัย พบว่า
1) นักศึกษามีเจตคติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบนอกห้องเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบนอกห้องเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2) สำหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษามีเจตคติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการใช้ทรัพยากร ด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการป้องกันทรัพยากรไม่ให้ถูกทำลาย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการใช้ทรัพยากร และด้านการป้องกันทรัพยากรไม่ให้ถูกทำลาย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
Borich. G.D. (2000). Effective teaching methods 4thedition. Columbus, Ohio,Prentice-Hall.
Brookes, A. (2004). Can outdoor education be dispensed with? A critical review of some common rationales for outdoor education. Paper presented at Connections and Disconnections: Examining the reality and rhetoric. International perspectives on outdoor education theory and practice, La Trobe University Bendigo, Australia.
Dewey, J. (1938). Experience and education. New York: Touchstone.
GÖkdere, M. (2005). A study on environmental knowledge level of primary students in Turkey. Asia-Pacific Forum on Science Learning and Teaching, 6(2), 1-13.
Hammerman, D. R., Hammerman, W. M., & Hammerman, E. L. (2001). Teaching in the outdoor. Danville, IL: Interstate.
Hungerford, H.R. & Volk, T.L. (2013). Changing learner behavior through environmental education. Retrieved from http: doi.org/10.1080/00958964.1990.10753743. Accessed March 20, 2018.
Moore. K. (2005). Effective instructional strategies: From theory to practice. London, Sage Publication.
Norizam, E. (2010). Environmental knowledge, attitude and practices of student teachers. International Research in Geographical and Environmental Education, 19(1), 39-50.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). Draft of the 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Documents for the 2016 Annual Meeting. Bangkok.
Okur-Bergeroglu, E., Ozdilek, H.G. & Ozdilek, Y.S. (2014). The Short term effectiveness of an outdoor environmental education on Environmental awareness and Sensitivity of In-service teachers. International Electronic Journal of Environmental Education. 5(1), 1-20.
Oztas, F. & Kalipci, E. (2009). Teacher Candidates’ perception level of environmental pollutant and their risk factors. International Journal of Environmental and Science Education, 4(2), 185-195
Phra Kru Phipit Jarutham. (2015). Forest conservation guidelines according to Theravada Buddhist doctrine: Case of the Hug Muang Nan Foundation. Journal of Peace Studies, MCU, 2 (3), 30-44.
Smith-Sebasto, N.J. & Smith, T.L. (2010). Environmental education in Illinois and Wisconsin : A tale of two states. Retrieved from https://doi.org/10.1080/00958964.1997.9942833. Accessed March 24, 2018.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)