แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนากําลังคนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
คำสำคัญ:
สถาบันอาชีวศึกษา, แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, การพัฒนากําลังคนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพและ ปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบัน อาชีวศึกษา และ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนากําลังคนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มตัวอย่างมีจํานวน 29 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษา 4 คน ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ 4 คน ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง 4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาอังกฤษ 17 คน ซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจงจากเขตกรุงเทพมหานคร ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สําหรับข้อมูลเชิง คุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการ สอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษา พบว่า มีการใช้ เนื้อหาหลักสูตรภาษาอังกฤษแกนกลางของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีการจัดให้ผู้เรียนศึกษา อาชีวศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และระบบทวิภาคี สําหรับปัญหาในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ผู้สอน ขาดทักษะการสอนภาษาอังกฤษในหมวดวิชาชีพเฉพาะ การพัฒนาเนื้อหาหมวดวิชาชีพเฉพาะขาดการมีส่วนร่วม จากผู้เชี่ยวชาญในสถานประกอบการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ชํารุดหรือไม่เสถียรในระหว่างฝึกปฏิบัติการวัดความรู้ ทักษะทางภาษาอังกฤษไม่สอดคล้องกับเนื้อหาและ วัตถุประสงค์การเรียนรู้และ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนากําลังคน เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า ผู้สอนภาษาอังกฤษควรสื่อสารได้จริง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาของหลักสูตร ควรสอดคล้องกับการใช้ชีวิตจริง ผู้เรียนควรได้มีส่วนร่วมใน การเรียนรู้และควรมีการวัดความสามารถของผู้เรียนทางด้านทักษะการคิด การทํางานที่เป็นนานาชาติการมีจิตสาธารณะ และการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ได้ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ นอกจากนี้สถาบันอาชีวศึกษาควรมีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการบูรณาการความรู้ภาษาอังกฤษกับกลุ่มสาระรายวิชาอื่นอย่างต่อเนื่อง
References
Anuchai, R. (2013). Research Method in Vocational Education Development. Faculty of Education. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai].
Aphisak, P. (2012). Application of psychology in language teaching and learning. Principles Context of English Language Learning subject. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Atchara, W. (2012). Measurement and Evaluation in English Language Courses. Foundations and Methodologies of English Language Instruction subject. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Bureau of Vocational Education Standards and Qualification. (2016). Curriculum structure and learning competency in foreign language subjects. [in Thai].
Chaiyong, P. (2012). English teaching materials. Curriculum Development and Instructional media subject. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Dilak, P. (2016). Thai teacher 4.0. Retrieved from http://www.moe.go.th/index.php/. [in Thai].
Government Gazette. (2008). Vocational Education Act 2008. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission. Ministry of Education. [in Thai]
Kanjanee, C. (2015). English Listening Principle. Pattani. Textbook Production Project Prince of Songkla University. Pattani campus. [in Thai].
Kanlaya, S. (2012). Foundation and Methodology of English Language Instruction. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai].
Krismant, W. (2011). Vocational education: Philosophy, Principles and Theory. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok. [in Thai]
Likert, (1983). Research Design: Qualitative and Quantitative Approaches. London: SAGE Publications.
Mantmas, L. (2013). Techniques for organizing activities to improve English language skills. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai].
Nuanchit, C. (2014). Learning Management Science. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai].
Office of the Vocational Education Commission.(2014). Measurement and evaluation for Diploma students Regulation. [in Thai].
Office of the Vocational Education Commission (2017).The Strategy of Manpower Development for Vocational Education. [in Thai].
Panit, K. (2009). Foundation of Vocational education. Department of Vocational Education. Faculty of Education. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]
Prakasit, S. (2012).Principles context of English Language Learning. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai].
Sita, Y. (2012). Foundations and Methodologies of English Language Instruction. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Somboon, T. (2013). Educational Research Methodology. Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University. [in Thai].
Suthep, C. (2016). Importance in education and development of English language knowledge and skills for the ASEAN Economic Community. Thai Post newspaper on 19 May 2016. [in Thai]
Sutithep, S. (2009). Management information system for Vocational teachers. Department of Vocational Education. Faculty of Education. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]
The National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2015). National test report in Vocational education. Retrieved from http://www.niets.or.th. [in Thai].
Tisana, K. (2012). Science of Teaching: Knowledge for efficient instruction process. (15th edition) Bangkok: The Publishing of Chulalongkorn University. [in Thai]
Ubol, S. (2012). Listening and speaking problems in English.Principle Context of English Language Learning. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai].
Wanida, P. (2012). From the course to English language teaching.Foundation and Methodologies of English language Instruction. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai].
Wichien, T. (2014).Foundation of Measurement and Evaluation according to curriculum. Bangkok: MAC Education. [in Thai].
Wichit, S. (2016).Educational tests Foreign Language Subjects forwards to ASEAN. Community. Retrieved from https://www.niets.or.th/th/. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)