การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคงทนในการเรียนรู้, บทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ 3) ประเมินทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 4) เปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้กับคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ หลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาแพงแสนวิทยา จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินทักษะปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.24/82.17 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนด 2) คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินทักษะปฏิบัติงานคุณภาพของผลงานอยู่ในระดับดี และ 4) ความคงทนในการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เมื่อเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์กับคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน
References
Brahmawong, C. (2013). Developmental Testing of Media and Instructional Package.Educational of Silpakorn University Research Journal, 5(1), 7-20. [in Thai]
Cain, C. C. (2010). Social Networking Teaching Tools:A Computer Supported Collaborative Interactive Learning Environment for K-12. Degree of Master Thesis in Science, Auburn University.
Davis et al. (2012). The Role of Social Media In Community Colleges. Retrieve from https://www.work.bepress.com.
Gagne, R. M. (1970). The Condition of Learning. 2nd ed. New York: Holt Rinchart and Winston Inc.
Laohajaratsang, T. (2002). Web-based instruction: Innovation for teaching quality. Suksasartsan (Faculty of Education, Chiang Mai University), 28(2), 87–94. [in Thai]
Lhasuvong, K. (1985). Educational Psychology. Bangkok: Srinakharinwirot University.[in Thai]
Rungraung, M. (2014). Effects of Learning Process by Using Graphic Organizer on Achievement of Social Studies Religion and Culture andLearning Retention of Mathayomsuksa One Students. Master Degree Thesis in Curriculum and Instruction Development, Nakhon Si Thammarat Rajabhat university. [in Thai]
Roungrong, P. (2013). Social media in Thailand education. Retrieved from https://www.flipbooksoft.com/upload/books/11-2013/72591. [in Thai]
Safran, C. (2010). Social Media in Education. Thesis for the Award of the Academic Degree of a Doctor of Technology, Graz University of Technology.
Vigromsakunwong, W. (2017). Development of an Online Lesson Using Social Media Network Based on the Constructionism Theory for Computer Education and Training Subject for Undergraduate Students. Master Degree Thesis in Educational Technology and Communications, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]
Wichawut, C. (1977). Human memory. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)