ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วริษฐา แหวนเพชร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงเดือน สุวรรณจินดา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 78 คน จาก 2 ห้องเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดนครปฐม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาจากสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

Arwusosakul, P. (2014). The Effects of Learning Biology Management by Using the Problem-based learning Method to Enhance Biology Achievement and Problem solving Ability for student in Matthayom Suksa V. Master thesis, Burapha University). (in Thai)

Barrows, H. S., & Tamblyn, R. M. (1980). Problem-Based Learning: An ApproachTo Medical Education. New York: Springer.

Dankaew, M. (2014). A Study of Problem Solving Ability and Learning Achievement for Mathayom Suksa II Students Unit on “Human Body and Animal System” Using Problem - Based Learning. Master thesis, Khon Kaen University). (in Thai)

Intanak, P. (2003). Problem-based learning activities for English for tourism. Chiang Mai: Chiang Mai University). (in Thai)

Intanon, B. (2008). A Study on Science Learning Achievement and Ability in Solving Science Problem Through Problem-based learning and Inquiry Process of Matthayom Suksa III student at Yotinbumrung School. Master thesis, Srinakharinwirot University). (in Thai)

Katkarn, P. (2015). The Effects of Problem-based learning for Developing Science Learning Achievement, Problem solving Abilities and Scientific Attitude of Prathom Suksa VI student. Master thesis, Burapha University). (in Thai)

Khammani, T. (2008). Model of Teaching science: knowledge for effective learning process management. Bangkok: Dansuthakanpim Printing. [in Thai]

Kraisut, K. (2015). A Comparison of the Science Academic Achievement of Prathom Suksa V Students at Ban Yantakhao School, Trang Province Using a Problem-Based Learning Approach and Traditional Methods. Master thesis, Ramkhamhaeng University). (in Thai)

Limrat, N. (1997). What is PBL? Journal of Teaching and Learning Efficiency, 6(1), 12-14. [in Thai]

Ministry of Education. (2017). Indicators and core content Group learning science (Revised edition B.E. 2017) according to the Core Curriculum for Basic Education, 2008. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation Printing. [in Thai]

Namwong, T. (2012). A Study of Grade 11 Students Learning Achievement and Scientific Problem Solving Skills in Learning about Fluid Using Problem-Based Learning. Master thesis, Khon Kaen University). (in Thai)

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2019). Report on the results of the test the national level basic O-Net Matthayom 3 Year 2559-2561. Retrieved from http://www.nite.or.th.

Sawatanapiboon, S. (1998). Lecture note WG 571 science teaching practice meeting. Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]

Seekheio, D. (2016). The Effects of Learning Management Using Problem-Based Learning through Cooperative Learning on Science Learning Achievement and Science Problem Solving Ability of Prathom Suksa VI Students of Iamsuree (Anuban Mueng Samut Prakan) School in Samut Prakan Province. Master thesis, Sukhothai Thammathirat University). (in Thai)

Sintapanon, S. (2012). Develop thinking skills according to educational reform. Bangkok: 9119 Techniques Printing. [in Thai]

Suriyong, J. (2008). Problem Solving Ability Through Problem-Based Learning of Science of Grade Level 3 Students. Master thesis, Chiang Mai University). (in Thai)

Suwan, S. (2012). Problem - Based Learning. Retrieved from http://suthinnaa.blogspot.com/2012/12/project-based-learning.html.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).(2013). Science Evaluation Guide. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology Printing. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2017). PISA 2015 Assessment Reading Mathematics and Science Executive summary. Bangkok: Aroonkarnpim Printing. [in Thai]

Tontipalacheewa, K. (2005). Problem-based Learning. Encyclopedia of education, (34),75-79. [in Thai]

Wongtrangan, S. (2002). Problem based Learning. CMU Journal of Education, 14(10), 1-4. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31