การมีส่วนร่วมของสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนในการเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียน ที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม: กรณีศึกษาโรงเรียนวชิรวิทย์ เชียงใหม่ ช้างคลาน

ผู้แต่ง

  • ปกรณ์กิตติ์ ม่วงประสิทธิ์ ภาควิชาหูหนวกศึกษา วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภูเบศ พวงแก้ว คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่
  • กุลวดี เกียรติไชยากร โรงเรียนวชิรวิทย์ เชียงใหม่ ช้างคลาน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ, เรียนรวม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของกระบวนการการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนในการเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและชุมชน เก็บข้อมูลโดยการประชุมกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึก การประชุมกลุ่ม ซึ่งตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยการหาค่า IOC (Item-Objective Congruency Index) มีค่าดัชนีความสอดคล้องในแต่ละข้อ อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 วิเคราะห์ผลการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลคือ

องค์ประกอบของกระบวนการในการบริหาร ประกอบ 1) การสร้างภาคีเครือข่ายโดยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา ดำเนินการและประเมินผลการดำเนินงาน 2) ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน และการส่งเสริมด้านสวัสดิการของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน 3) ด้านความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อวางแผนดำเนินการ และประเมินผลการดำเนินการของสถานศึกษา 4) ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกซึ่งสถานศึกษาจะเน้นกระบวนการกระจายอำนาจรวมไปถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของผู้ปกครองและชุมชน 5) ด้านการประเมินผล สถานศึกษาใช้ระบบการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาโดยถือว่ากระบวนการประกันคุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งในการในการบริหาร และ 6) ด้านการสนับสนุนทรัพยากรได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา

ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของกระบวนการการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนในการเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ เรียนรวมมีปัจจัยที่สำคัญในการบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ด้านการอบรมเลี้ยงดูเด็ก (Parenting) ผู้ปกครองและ สถานศึกษาต้องมีความเข้าใจแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน 2) ด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication) พบว่า ในการสื่อสารระหว่างสถานศึกษา และผู้ปกครอง ประกอบไปด้วย การสื่อสารแบบทางเดียว (One-way Communication) และการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) 3) ด้านการอาสาสมัคร (Volunteering) สถานศึกษาได้เปิดโอกาสให้กับผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาเป็นอาสาสมัครมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและดูแลนักเรียน 4) ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน (Learning at Home) สถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองของนักเรียนในการมีส่วนร่วมในการทำ การบ้านหรืองานที่ครูได้มอบหมายของนักเรียนรวมถึงการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานที่ได้มอบหมายของครู 5) ด้านการตัดสินใจ (Decision Making) สถานศึกษาได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด แนวนโยบายในการพัฒนาผู้เรียน และมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลการดำเนินการของสถานศึกษา 6) ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Collaborating With the Community) พบว่า ครู ผู้ปกครองและชุมชนต้องสามารถวางแผนในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถเฉพาะบุคคลของผู้เรียนและจะต้องมีความเข้าใจวิธีการดูแล รวมไปถึงการเข้าใจหลักสูตรการเรียนรู้ของผู้เรียน

References

Boonyakarn, T., Saksiriphol, D. &Pothisaan, P. (2016). Learning experience management with Parental involvement Model to Enhance Theself-help Skills of children with cerebrali palsy. Journal of Education Faculty of Education, Srinakharinwirot University,17(1), 1-15. (in Thai)

Bureau of Special Education Administration.(2017). Report the total number of students with learning disabilities. Including all educational service area offices Classified by data level. Retrieved from http://specialbasic.specialset.bopp.go.th/specialbasic/download/student_2559_2_class_de.pdf (in Thai)

Chaiwatthanakunwanit, S.& Rukspollmuang, C.(2015). Alternative edicatopmal provision model to improve quality of life of children with special need. Journal of Education Graduate StudiesResearch,9(1), 192-201.(in Thai)

Epstein, J. L. (2001). School, family, and community partnerships: Preparing Educators and Improving Schools. Boulder, CO: Westview Press.

Jaitia, A.(2011). Development Individualized Education Program by Participation with Stakeholders for Special Need Child: Disabilities and Human Resource Development Center Faculty of Education Chiangmai Rajabhat University. Rajabhat Chiangmai University Research Journal,12(2), 55-66.(in Thai)

Jiaranai, S., Moungsirithum, P. & Maneein, A.(2015). Participation Administration Model in Higher Education. Journal of Educational Faculty of Education, Srinakarinwirot University,16(2), 44-54.

Kaewlee, N. (2015). An Analysis of The Parent’s Opinions towards Communication vs Social Network in The Demonstration School of Sipakorn University (Kindergarten and Elementary). An Online Journal of Education,10(1), 641-650.

Ketudat, S. (1999). National Education Act 1999 and the new role of the Teachers Council of Thailand. Withayajarn Journal, 98(3), 7-14 (in Thai)

Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2011). Report of the external assessment of schools to assess the 3rd year 2554.Retrieved from:http://aqa.onesqa (in Thai)

Office of the Permanent Secretary for Education. (2016). Official statistics, number of students with disabilities Classified by year, gender, disability type Urban / Rural Area Administrative area (province / district/ sub-district). Bangkok: Ministry of Education.(in Thai)

Pengsakot, S. & Maput, J. (2011). Parental Participation Model in Early Childhood Education Management. Journal of Education and SocialDevelopment, 7(1), 68-82.

Phuangsomjit, C. (2017). Establishing School –Community Relationships. Veridian E-Journal, Silpakorn University,10(2),1342-1354.(in Thai).

________(2017). Professional learning communities and ways to apply in schools. Veridian E-Journal, Silpakorn University,10(1), 34-41.(in Thai)

Puisuwan, P., Chenaksara, N. &Patipimpakorm, P. (2014). The Appropriate to Thai Society Guidelines for Participation in School Administration of Parent Teacher Association. Suthiparithat Journal. 28(87), 345-367.(in Thai)

Samerpot, T.(2017). Factors Affecting Special Education According to Standards of Mainstreaming schools under the Office of Roi-et Primary Education Service Area 3. Journal of SrivanalaiVijai,7(1), 84-95.(in Thai)

Siripan, J. (n.d.). Comparison of the joint consultation system. Retrieved from: http://relation.labour.go.th/2018/attachments/categoy/81/0406.pdf.(in Thai)

Thareeboon, K.&Chenaksara, N. (2015). The Participative Administration Affecting Efficiency Teamwork of Private Kindergarten School Administrator. Veridian E-Journal, Silpakorn University,8(1),122-137.(in Thai)

The Secretariat of the Council of Education.(2018). Education in Thailand 2018.Bangkok:Prik Wan Graphic Company Limited. (in Thai)

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2017). A Guide for ensuring inclusion and equity in education. Paris: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.

Wachirawit Chiangmai Changklan School.(2018). School information. Wachirawit San Journal,8(2), 3. (in Thai)

Wongkhunsap, P. (2016). The Relationship Building with Community of Wadwangped School under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 1. Proceedings of Research, 3rd National Research Conference and Research Presentation,2nd Century: Integrated Research Use Of knowledge Sustainable sustainability. "June 17, 2016 at Watthayalai Nakhon Ratchasima, Muang District, Nakhon Ratchasima Province.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2020