การพัฒนาความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสำหรับนักศึกษาครูวิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คำสำคัญ:
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, การสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกเสริมเรื่อง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสำหรับ นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา 2) เปรียบเทียบความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูวิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา ระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกฯที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความคิดเห็น ของนักศึกษาครูวิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีต่อชุดฝึกฯ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาโทวิชาเอก วิทยาศาสตร์ศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีการศึกษา 2561 ที่ลงทะเบียนเรียนชุด วิชา 22761 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกเสริมเรื่อง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการสร้างคำอธิบาย เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 2) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) แบบสอบถาม ความคิดเห็นต่อการใช้ชุดฝึกฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
ผลการวิจัย 1) ชุดฝึกฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ข้อมูลที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติ โดยมีตัวอย่าง และแบบฝึกหัดที่มีแนวตอบให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบและเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) คะแนนความสามารถในการออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลังใช้ชุดฝึกฯสูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกฯ และ 3) นักศึกษาครู วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญ และปัญหาการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ กระบวนการสืบเสาะอยู่ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดฝึกฯ และการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนด้วยชุดฝึกฯ ไปพัฒนาการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะของตนเองในระดับมาก
References
Anuworachai, S. (2014). Science Learning Management by using the scientific explanation. STOU Edueation Journal,7(2), 1-14. [in Thai]
Hadkhuntod, P. (2018). The effects of inquiry 5 Eslearning management emphasizing scientific explanation on science achievment in the topic of weather and scientific exaplanation ability of mathayomsuksa I Students at Nawamintra - chinuthitsaunkularb wittayalia Pathumthani province.(Unpublished Master Degree thesis). Sukhothai Thamma-thirat Open University, Nontaburi. [in Thai]
Klaynin, S., et al. (2008). Knowledge and scientific compretency for tomorrow word: Report from PISA 2006, Bangkok:Save printing company.[in Thai]
Liewkongsthaporn, W. (2009). Scientific explanations. IPST magazine, 173(37), 68-69. [in Thai]
Ladachart, L., Jantakoon, J., Kongson, R., Phothong, W. A. (2017).Case study of science teachers enacting inquiry –based activities after a workshop : Findings from the coupon for teacher development project. STOU Education Journal , 10 (2) , 89-108.[in Thai]
MeNeill, K. L. & Krajcik, J. (2008). Scientific explanations : Characterizing and evaluating the effects of teachers’ instructional practices on student learning. Journal of research in science teaching, 45(1), 53-78. Retrieved from http://deepblue.lip. Umich. Edu/ handle/ 2027.42/ 57509.[in Thai]
Nimdom, S. (2018).The effects of Inquiry learning management together with science writing heuristie technique in the topic of chemical recetion rate on science learning achievement and scientific explanation ability of mathayomsuksa V students at chumphonconsortrium 2 small small sized schools in Chumphon province. (Unpublished Master Degree thesis). Nontaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Panid, W. (2012) .Way to construct knowledge for students in 21 century. Bangkok : Sodsrisawadiwong Foundation.[in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)