การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและสุขภาพจิตของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก, สุขภาพจิต, นิสิตปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก สุขภาพจิตและความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรี จำนวน 363 คน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2561 ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 55.9 เมื่อพิจารณาต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกรายด้าน พบว่า ด้านการมองโลกในแง่ดี ด้านความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย และด้านความยืดหยุ่น อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 52.6, 67.8 และ 62.5 ตามลำดับ ส่วนด้านความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 56.5 ส่วนสุขภาพจิต พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สุขภาพจิตดีเท่ากับคนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 45.5 รองลงมาอยู่ในสุขภาพจิตดีกว่าคนปกติ และสุขภาพจิตที่ต่ำกว่าคนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 30.8 และ 23.7 ตามลำดับ ผลการศึกษายังพบอีกว่าต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาพจิตในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = .536)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)