ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ศศิภรณ์ ฤทธิ์ศักดิ์ 0844952836

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เทคนิค STAD  ผังกราฟิก  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก (3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

        กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 32 คน จากนั้นสุ่มห้องเรียนหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต (2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และ (4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

        ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

Clark, A. (2007). GOs and the school library program. University of Alberta Department of Elementary Education.
Fanprakhon, F. (2012). Learning development Graphic Organizers Science content for motivation and movement of Prathom Suksa III. Master thesis,
Mahasarakham University. [in Thai]
Independent Committee for Educational Reform. (2019). National educational reform plan. Bangkok: Office of Public Works Education Council.
[in Thai]
Kim, D. (2018). A Study on the Influence of Korean Middle School Students' Relationship through Science Class Applying STAD Cooperative Learning.
Daegu National University of Education (Republic of Korea).
Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Ministry of Education. [in Thai]
Ministry of Education. (2017). Indicators and core courses Science Learning (Revised edition 2017) in The Basic Education Core Curriculum 2008.
Bangkok: The Agricultural Co-operatives Federation of Thailand., LTd. [in Thai]
Muraya, D. N., & Kimamo, G. (2011). Effects of cooperative learning approach on Biology mean achievement scores of secondary school students’in Machakos District, Kenya. Educational Research and Reviews, 6(12), 726-745.
Office of the National Education Commission, National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2019). Summary of the national
basic education test (O-NET), grade 6, Retrieved May 16, 2019, from Website: http://www.niets.or.th/th/. [in Thai]
Phubanchao, B. (2009). Comparisons of Effect of Learning Science Using STAD Learning Together (LT), Colloborative Learning Approach and
Conventional Learning Approach. Master thesis, Mahasarakham University. [in Thai]
Pomseng, S. (2013). The Effects of 5E Inquiry Learning Management together with Graphic Organizer on Science Learning Achievement and Critical
Thinking Ability of Mathayom Suksa VI Students at Mahavajiravudh School in Songkhla Province. Master thesis, Sukhothai Thammathirat Open
University. [in Thai]
Pornkul, Ch. (2011). Teaching Thinking Process: Theory and Implementation. 2nd Ed. Bangkok : The Publisher of Chulalongkorn University. [in Thai]
Salaeh, H., Mophan, N. & Vichaidid, T. (2017). Effects of the STAD-Cooperative Learning Techniques with Science Shows on Achievement and Retention
in Learning Science of Grade Five Students, Ban Lubobuloh School, Rueso District, Narathiwat Provinc. Princess of Naradhiwas University Journal
of Humanities and Social Sciences, 4 (1), 27-41. [in Thai]
Sendee, N. (2017). Development of Critical Thinking Ability and Science Process Skills in Biology Entitled “Photosynthesis in Plants” Using Cooperative
Learning Strategy of STAD and Concept Mapping of Mathayom Suksa 5 Students. Master thesis, [in Thai]
Supich, K. & Wijackana, S. (2015). Graphic organizers : Effective learning tool, Journal of Liberal Art, Ubon Ratchathani University, 11 (2), 19-39.
[in Thai]
The Institute for the Promotion of Teaching Scence Technology Ministry of Education. (2017). Analyzing Science Indicators in The Science Learning
Curriculum Manual (Revised 2017 according to the Axis curriculum, 2008, elementary level), Ministry of Education. [in Thai]
Thumthong, A. (2014). The Effects of Learning Activities Emphasizing STAD Technique of Cooperative Learning in the Chemistry Course Topic of
Covalent Bonding on Learning Achievement and Group Working Ability of Mathayom Suksa IV Students of Suan Thapparattipathai School
Consortium in Pathum Thani Province Researche. Master thesis, Sukhothai Thamm. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15