การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ภราดร ผ่องใส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์
  • พนิต เข็มทอง

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม, การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน, การเสริมสร้างภาวะผู้นำตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานในการเสริมสร้าง ภาวะผู้นำตนเองของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประชากรที่ใช้ คือ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา  ภาคปกติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ภาวะผู้นำตนเอง เพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง โดยมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดของ Tyler เนื้อหาสาระของหลักสูตรสามารถแบ่งเป็น 3 หัวข้อ หัวข้อที่ 1 กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นพฤติกรรม หัวข้อที่ 2 กลยุทธ์การให้รางวัลและสร้างแรงบันดาลใจ และหัวข้อที่ 3 กลยุทธ์การคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีดังนี้ 1) แบบสำรวจภาวะผู้นำตนเอง 2) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบกรม 3) แบบสะท้อนการเรียนรู้รายบุคคล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลของแบบสำรวจภาวะผู้นำตนเอง ภายหลังการเข้ารับการฝึกอบรมผลของภาพรวมทั้งสามกลยุทธ์ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 86 คะแนน จากคะแนนเต็ม 120 คะแนน สรุปได้ว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำตนเอง 2) ผลของแบบสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย (m) 4.28 3) ผลของแบบสะท้อนการเรียนรู้รายบุคคล พบว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้สึกประทับใจในการฝึกอบรมครั้งนี้ ได้ความรู้และเข้าใจในเรื่อง ภาวะผู้นำตนเอง มากขึ้น และได้ทราบแนวทางในการพัฒนาในสิ่งที่ขาดไปหรือสิ่งที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน

คำสำคัญ: หลักสูตรฝึกอบรม การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน การเสริมสร้างภาวะผู้นำตนเอง

References

Browning, M. (2018). Self-Leadership: Why It Matters. International Journal of Business and Social Science.
Buranahiran, S. (2019). 51 Weapon of the Wise. Thought Leadership Publisher. [in Thai]
Department of Educational Technology Faculty of Education Silpakorn University. (2017). Curriculum in Education Graduate School of Educational Technology (Curriculum Improvement 2017). Nakhon Pathom: Silpakorn University, Sanam Chandra Palace District. [in Thai]
Kunakornpitak, P. & Others (2019). A Comparative Analysis of the Self-Leadership Behaviors of Thai and U.S. Elementary Teachers. International Education Studies. [in Thai]
Manz, C. C. (1986). Self-leadership: Toward and expanded theory of self-influence process in organizations. Academy of Management Review.
Manz, C. C. (1992). Mastering self-leadership: Empowering yourself for personal excellence. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
McGrath, J.R., & MacEwan, G. (2011). Linking pedagogical practices of activity-based teaching. The International Journal of Interdisciplinary Social Sciences.
Ministry of Education. (2017). The Education Development Plan of the Ministry of Education, 12th edition (2017 - 2021). Office of the Permanent Secretary for Education Ministry of Education. [in Thai]
Neck, C. P., & Houghton, J. D. (2006). Two decades of self-leadership theory and research: Past developments, present trends, and future possibilities. Journal of Managerial Psychology.
Neck, C.P., & Manz, C. C. (2010). Mastering self-leadership: Empowering yourself for personal excellence (5th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Office of the Higher Education Commission. (2018). Long-term tertiary plan for 20 years 2018 - 2037. Office of Higher Education Policy and Planning Office of the Higher Education Commission. [in Thai]
Paenluek, S. (2007). Training course development for leadership development for activity organization Student, Prince of Songkla University Bangkok: Graduate School Srinakharinwirot University. [in Thai]
Pearce, C. L., & Manz, C. C. (2005). The new silver bullets of leadership: The importance of self- and shared leadership in knowledge work. Organizational Dynamics.
Tyler, R. W. (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction. University of Chicago Press.
Wisitchawut, C., Phithiyanuwat, S., & Metha, P. (1993). Graduate quality and factors affecting Towards the quality of graduates, Chulalongkorn University. Bangkok: Educational Service Division, Office of the Permanent Secretary. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-10-2020