ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานที่มีต่อความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ในกลุ่มสตรีวัยทำงานของสำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
การออกกำลังกายแบบผสมผสาน, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ความอ่อนตัว, สตรีวัยทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานที่มีต่อ ความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อในสตรีวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นกลุ่มสตรีวัยทำงานของสำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้วิธีคัดเลือกแบบอาสาสมัคร จำนวน 30 คน โดยทุกคนเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การฝึกด้วยน้ำหนักตัวและ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 – 50 นาที ระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยทำการทดสอบ ความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อกับกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลัง 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสาน 6 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลัง และความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อลำตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าโปรแกรมการออกกำลังกาย แบบผสมผสาน 6 สัปดาห์ เป็นวิธีการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพต่อการปรับปรุงความแข็งแรงและ ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อให้กับสตรีวัยทำงานของสำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
References
Aphawatthanasakul, T. 2009. Principles in Sports Science for Trainning. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Boonprawet, N. 2010. The Effect of Core Body Strength Training Combined with Flexibility Training on 25 Meter Front Crawl Speed Swimming. Master of Science (Sports Science), Major Field: Sports Science, Kasetsart University. [in Thai]
Boonsom, N. 2017. “Flexibility Development by Stretching”. Veridian E –Journal Silpakorn University. 10 (2): 2173-2184. [in Thai]
Corbin, C.B., R. Lindsey., G.J. Welk., and W. R. Corbin. 2001. Fundamental Concepts of Fitness and Wellness. New York: McGraw-Hill Companies.
Gamble, P. 2013. Strength and Conditioning for Team Sport: Specific Physical Preparation for High Performance. 2nd ed. New York: Routtedge.
Hemra C. 2019. Principles and Practices : Physical Fitness. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Kolander, C.A., D.J. Ballard., and C.K. Chandler. 1999. Contemporary Women’s Health: Issue for Today and the Future. New York: McGraw-Hill Companies.
Kantaratanakul, V. 2003. Exercise for Working Age. Nonthaburi: Division of Exercise for Health. [in Thai]
Krabuanrut, J. 2010. Exercise for health: knowledge that still needs understanding. Retrived from: https://goo.gl/kG4ZAc. [in Thai]
Ou-tayanik, B. 2010. Health-Related Physical Fitness Development for Late Adolescence Students. Doctor of Philosophy, Major Field: Physical Education, Kasetsart University. [in Thai]
Phanggamta, J. 2009. The Effects of Core Body Training on Exercise Ball and Floor Exercise upon Back Muscle Strength and Flexibility in Rhythmic Gymnasts. Master of Science, Major Field: Sports Science, Kasetsart University. [in Thai]
Suksom, D. 2018. Exercise for health. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Vechapat, C. 1984. Physiology of Exercise. Bangkok: Department of physiology Mahidol University. [in Thai]
Wilmore, J.H., D.L. Costill and W.L. Kenney. 2008. Physiology of sport and Exercise. Champaign, IL : Human Kinetics.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)