การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้งานทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและจำนวนคละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • นภัสสร แก้วมีชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สิรินภา กิจเกื้อกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ, งานทางคณิตศาสตร์, ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้งานทางคณิตศาสตร์ และพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและจำนวนคละ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 คน โดยจัดการเรียนรู้ตามวงจรปฏิบัติการจำนวน 3 วงจร ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ 3) ขั้นปฏิบัติ 4) ขั้นสรุป 5) ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้และนำไปใช้ 6) ขั้นการประเมินผล เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการเรียนรู้ ชิ้นงาน และแบบทดสอบ ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้ควรเลือกใช้งานทางคณิตศาสตร์ที่เน้นการลงมือทำ เพื่อให้นักเรียนสามารถแก้สถานการณ์ปัญหาได้อย่างหลากหลาย ควรเลือกสถานการณ์ปัญหาที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและบริบทในชุมชนของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถนำประสบการณ์มาใช้ในการทำกิจกรรมได้ และผลของการจัดการเรียนรู้พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม

References

1. ธีรเชษฐ์ เรืองสุขอนันต์, รุ่งฟ้า จันท์จารุภรณ์ และทรงชัย อักษรคิด. (2554). การศึกษาพฤติกรรมด้านความคิดคล่องและความคิดยืดหยุ่น เรื่อง เรขาคณิต ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผ่านกิจกรรมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการระดมสมอง. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว, 27(2), 133-151.
2. พงศกร วังศิลา. (2561). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในเรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
3. วันเพ็ญ นันทะศรี. (2560). การพัฒนาทักษะความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาตัวยการเขียนแผนที่ความคิด. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(64), 43-50.
4. สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูทศวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์: จุลดิสการพิมพ์.
5. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา.
6. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สกศ.
7. เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย และ ภีรภา จันทร์อินทร์. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
8. Aziza, M. (2018). An Analysis of A Teacher’s Questioning Related to Students’ Responses and Mathematical Creativity in An Elementary School in The UK. International Electronic Journal of Elementary Education. 10(4), 475-487.
9. Cai, J. & Lester, F,K. (2010). Why is teaching with problem solving important to student learning.Reston, VA: National Council of Teaching of Mathematics.
10. Henningsen, M.A., & Stein, M.K. (1997). Mathematical tasks and student cognition: Classroom-based factors that support and inhibit high-level mathematical thinking and reasoning. Journal for Research in Mathematics Education.
11. The National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2014). Implement Tasks That Promote Reasoning and Problem Solving, Principles to Actions: Ensuring Mathematical Success for All Produced. VA: NCTM.
12. Stein, M. K., Smith, M. S., Henningsen, M., & Silver, E. A. (2000). Implementing standards-based mathematics instruction: A casebook for professional development. New York: Teachers College Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-19