ความเข้าใจในสะเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในประเด็นเรื่อง PM 2.5

ผู้แต่ง

  • ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทัศนีวรรณ์ เลิศเจริญฤทธิ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
  • ทรงชัย อักษรคิด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุธาสินี กิตยาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • รติพร มั่นพรหม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความเข้าใจในสะเต็ม, สะเต็มศึกษา, การเรียนรู้ด้วยการออกแบบ, พี เอ็ม 2.5

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในสะเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในประเด็นเรื่อง PM 2.5 โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาหลังจากที่นักเรียนผ่านการเรียนรู้สะเต็มโดย          การเรียนรู้ด้วยการออกแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อายุระหว่าง 16 – 17 ปี จำนวน 88 คน ในโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดความเข้าใจในสะเต็มหลังการเรียนรู้ โดยเป็นคำถามปลายเปิด ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบวัดโดยจัดกลุ่มคำตอบของนักเรียนที่มีความคล้ายกันไว้ในกลุ่มเดียวกันแล้วตีความจากคำตอบของนักเรียนเพื่อพิจาราณาว่านักเรียนระบุถึงความรู้จากศาสตร์ใด ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนร้อยละ 55 ระบุถึงทักษะทางสะเต็มที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จ รองลงมาร้อยละ 39 ระบุถึงศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้สำเร็จเพียงสองศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนนักเรียนร้อยละ 32 ระบุว่ามีการออกแบบเป็นกระบวนการหลักในการทำงาน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้คือผู้สอนควรเตรียมสถานการณ์หรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงและเป็นที่สนใจของนักเรียน และให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความเข้าใจในสะเต็มของนักเรียนว่านักเรียนมีการใช้หรือพัฒนาองค์ความรู้หรือทักษะอย่างไรบ้างในการเรียน การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะทางสะเต็ม โดยเฉพาะการฉลาดรู้ในการเป็นผู้ประกอบการจะเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนต่อยอดเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของชิ้นงานของตนเชิงธุรกิจ

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2562. รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอน (PM2.5) พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และผลการดําเนินงานของกรมควบคุมมลพิษปี 2562 http://www.pcd.go.th/info_serv/air_pm25.html
Capraro, R. M., & Scott, W. S. (2013). Why PBL? why STEM? why now? an introduction to STEM project-based learning: an integrated science, technology, engineering, and mathematics (STEM) approach. In R. M. Capraro, M. M. Capraro, & J. R. Morgan (Eds.), STEM Project-Based Learning : An Integrated Science, Technology, Engineering, and Mathematics (STEM) Approach (2nd ed., p. 210). Rotterdam: Sense.
Centre for Labour Market Research. (2015). Modeling the Relationships Between the Use of STEM Skills, Collaboration, R and D, and Innovation among Australian Businesses. Australian Journal of Labour Economics, 18(3), 345–374.
Clavert, M., & Paloposki, T. (2015). Implementing design-based learning in teaching of combustion and gasification technology. International Journal Of Engineering Education, 31(4), 1021–1032.
Crippen, K. J., & Archambault, L. (2012). Scaffolded Inquiry-Based Instruction with Technology: A Signature Pedagogy for STEM Education. Computers in the Schools, 29(1–2), 157–173.
EU Skills Panorama. (2014). STEM skills Analytical Highlight. Retrieved from http://skillspanorama.cedefop.europa.eu/sites/default/files/EUSP_AH_STEM_0.pdf
Fortus, D., Krajcik, J., Dershimer, R. C., Marx, R. W., & Mamlok‐Naaman, R. (2005). Design‐based science and real‐world problem‐solving. International Journal of Science Education, 27(7), 855–879
Honey, M. (2012). Design-Based Learning: A New Paradigm for STEM Education. Retrieved March 5, 2018, from https://www.ibm.com/blogs/citizen-ibm/2012/03/design-based-learning-a-new-paradigm-for-stem-education.
Lou, S.-J., Shih, R.-C., Diez, C. R., & Tseng, K.-H. (2011). The impact of problem-based learning strategies on STEM knowledge integration and attitudes: an exploratory study among female Taiwanese senior high school students. International Journal of Technology and Design Education, 21(2), 195–215.
Markham, T. (2011). Strategies for Embedding Project-Based Learning into STEM Education. Retrieved January 8, 2016, from http://www.edutopia.org/blog/strategies-pbl-stem-thom-markham-buck-institute.
Mehalik, M. M., Doppelt, Y., & Schuun, C. D. (2008). Middle-School Science Through Design-Based Learning versus Scripted Inquiry: Better Overall Science Concept Learning and Equity Gap Reduction. Journal of Engineering Education, 97(1), 71–85.
National Research Council. (2011). Successful K-12 STEM Education. Washington, D.C.: National Academies Press.
National Research Council. (2012). A Framework for K-12 Science Education. Washington, D.C.: National Academies Press.
National Science Foundation [NSF]. (2007). A National Action Plan for addressing the critical needs of the U.S. science, technology, engineering, and mathematics education system. Virginia.
Phillips, J. A., McCallum, J. E., Clemmer, K. W., & Zachariah, T. M. (2016). A Problem-Solving Framework to Assist Students and Teachers in STEM Courses. Journal of College Science Teaching, 46(4), 33–39. Retrieved from http://arxiv.org/abs/1607.07853
Pimthong, P., & Williams, P. J. (2018). Conceptual Framework for STEM Teacher Education Course. Perth.
Royal Thai Embassy, W. D. C. (2017). Thailand 4.0. Retrieved October 14, 2017, from http://thaiembdc.org/thailand-4-0-2/
Schmidt, K. M., & Kelter, P. (2017). Science Fairs: A qualitative study of their impact on student science inquiry learning and attitudes toward STEM. Science Educator, 25(2), 126–132. Retrieved from https://search-proquest-com.dbgw.lis.curtin.edu.au/docview/1865491855?rfr_id=info%3Axri%2Fsid%3Aprimo
Vasquez, J. A., Sneider, C., & Comer, M. (2013). STEM lesson essentials, grades 3-8: Integrating science, technology, engineering, and mathematics. Portsmoth, HN: Heinemann. Retrieved from http://www.amazon.com/STEM-Lesson-Essentials-Grades-3-8/dp/0325043582
Williams, P. J. (2000). Design: The only methodology of technology? Journal of Technology Educationducation, 11(2), 48–60.
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานข้อมูลตรวจวัด. Retrieved October 10, 2019, from http://aqmthai.com/
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15