ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • warrittha thammasunthon มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ                                                                                             

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพในระดับดี   ทัศนคติต่อพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01            การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าตัวแปรทัศนคติต่อพฤติกรรมสุขภาพ มี 8 ตัวแปร คือ 1) ความเครียดทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน 2) การออกกำลังกายเป็นเวลานานมากกว่า 30 นาทีต่อวันทำให้ร่างกายแข็งแรง 3) การออกกำลังกายวันละ 30 นาที  เป็นระยะเวลาพื้นฐานในการออกกำลังกาย 4) ใยอาหารจากผักและผลไม้ทำให้ระบบการย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนัก 5) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กล่อมประสาทเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 6) ใน 1 วัน ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 7) การออกกำลังกายเป็นประจำทำให้ร่างกายผ่อนคลายความเครียด  และ 8) การผ่อนคลายความเครียดทำได้โดยการนั่งสมาธิ ที่มีอิทธิพลต่อการทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

References

Chanhom, S. (2019). How to Exercise for the Elderly. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1052. 10/5/2019

Chayowan N. (2005). The Vulnerable Elderly in Thailand. In Vibhavadi Dejaimark (editor). Demography. Bangkok: Bangkok, 16-17. (In Thai)

Chumkaew, K. (2012). Knowledge, Attitude and Food Consumption Behavior of the Elderly in Songkhla Province. Master of Arts Thesis, Home Economics Education, Kasetsart University. (In Thai).

Department of Health. (2013). Report of Thai Health Status Survey in 2013 under the Health Promotion Program for the Elderly and the Disability. Bangkok: Wacharin P. P. Publisher. (in Thai)

Division of Health Education. (2015). Health Behavior Modification: Alcohol Drinking or Alcoholic Beverages for Working People. http://www.hed.go.th/linkhed/file/259. 11/3/2019 (in Thai)

Fongchansom, M. (2009). Health Behavior Disease Prevention and Maintaining Health. Bangkok: Bangrak Publisher. (in Thai)

Office Of the National Economic and Social Development Board. (2011). Economic and Social Development. http://www.nesdb.go.th/, 20/11/2013. (in Thai)

Piligrimiene, P., Zukauskaite, A., Korzilius, H., Banyte, J., & Dovaliene, A. (2020). Sustainability: Internal and External Determinants of Consumer Engagement in Sustainable Consumption. www.mdpi.com/journal/sustainability. 25/1/2020

Puttarak, P. (2009). Knowledge, Attitude and Food Sanitation Behavior of Chefs in Phuket Hotels. Master of Arts Thesis. Home Economics Education, Kasetsart University. (In Thai).

Rattanakul, C. (2007). Diet Therapy in Patients with Chronic Kidney Disease. Bangkok: Kammayee.

Sombateyotha, K., Yoosuk, W. and Turnbol, N. (2019). Health Behavior and Quality of Life of the Elderly in Chiangyuen District, Mahasarakham Province. Mahasarakham Journal. (January-February 2019): 51-59.

Wiriyakitpattana, K. (2007). Consumer Behavior. Bangkok: Wang Aksorn Publisher. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-10-2020