ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง สารในชีวิตประจําวัน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • สินีนาถ ยาฝาด วิทยาศาสตร์ศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุจินต์ วิศวธีรานนท์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงเดือน พินสุวรรณ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาคะแนนพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา และ 4) เปรียบเทียบพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ระหว่างความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 22 คนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง สารในชีวิตประจําวัน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนพัฒนาการ การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ความสามารถในการ
แก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (ก่อนเรียน gif.latex?\bar{x} = 15.77, S.D. = 3.48 หลังเรียน gif.latex?\bar{x} = 22.00, S.D. = 3.70) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัด การเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (ก่อนเรียน
gif.latex?\bar{x} = 11.05, S.D. = 3.59 หลังเรียนX = 16.95, S.D. = 3.76) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา ส่วนใหญ่มีคะแนนพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับกลาง คิดเป็นร้อยละ 59.09 และส่วนใหญ่มีคะแนนพัฒนาการความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 45.46 และ 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา มีพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดคล่อง ( gif.latex?\bar{x} = 44.99,
S.D.= 23.50) แตกต่างกับความคิดยืดหยุ่น ( gif.latex?\bar{x} = 22.66, S.D.= 13.89) และความคิดริเริ่ม (gif.latex?\bar{x} = 22.55, S.D.= 14.85) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนพัฒนาการด้านความคิดยืดหยุ่นและความคิดริเริ่มไม่แตกต่างกัน โดยนักเรียนสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดคล่องได้ดีที่สุด รองลงมา คือ ความคิดยืดหยุ่นและความคิด
ริเริ่ม

References

Besa, N. (2015). Effects of STEM Education Approach on Biology Achievement, Problem Solving Ability and Instructional Satisfaction of Grade 11 Students. Master of Education in Teaching Science and Mathematics, Prince of Songkla University. (in Thai)

Channakorn, S. & Others. (2014). The Development of Grade 7 Students’ Scientific Creativity in Topic of Atmosphere Using Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) Education, 34th The Nation Graduate Research Conference, HMO50-2. 1871-1877. (in Thai)

Cheumklang, K. and Boonthawee, S. (2016). "Crisis Wave: An Example. Increasing academic concentration in design and development activities. Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST) 44 (200), 17-22. (in Thai)

Ektrakul, N. (2015). Development of STEM Learning Managementto Increase the Learning Achievement and Ability to Think Creatively, Problem Solving (CPS) of Grade 11 Students. (Research study). Bangkok: Assumption Thonburi School. (in Thai)

Hatkaew, P. (2014). Maths and Science through Jelly Making, STEM Activities, Elementary Education, Institute for the Promotionof Teaching Science and Technology (IPST), 43 (191), 42-45.(in Thai)

Kanchanawasi, S. (2009). The Traditional test theory (6th edition). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Ketusing, V. (1995). Meaning of Interpretation: Simple Things That Sometimes Miss, Educational Research News, 18 (3), 8-11. (in Thai).

Kijkuakul, S. (2515). STEM Education, Journal of Education Naresuan University, 7(2), 201-207. (in Thai)

Laboy - Rush, D. (2012). Integrated STEM Education through Project Based Learning Retrieve from: http://www.rondout.k12.ny.us/ common/pages/DisplayFile.aspx?itemId =16466975.

Munkham, S. (2008). Strategies for Teaching Problem Solving. (4th edition). Bangkok: Printmaking. (in Thai)

Office of the Basic Education Commission (OBEC). (2015). Classroom Management Guide Reduce time to learn. Bangkok. Ministry of Education. (in Thai)

Pasicha, W. & Chongchaikit, M. (2018). Integrating Information Technology into the Elementary Curriculum: Case Study of Watmueng School, Department ofEducation, Bangkok Metropolitan Administration. Kasetsart Educational Review, 33 (1), 157-166. (in Thai).

Phanmanee, A. (2014). Practice to think creatively. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Phanurat, S. (2010). A comparison of Thai composition writing skill development of the sixth grade students assessing them selves using checklist and open-ended questionnaire. Master of Educational Research and Psychology, Chulalongkorn University. (in Thai)

Phonakhon, C. (2013). The study of Thailand in the Thai lands 4.0 Retrieved from http://km.li.mahidol.ac.th/ thai-studies-in-thailand-4-0/. (in Thai)

Pitiporntapin, S. (2015). Learning Science and Society for the 21st Century. Samutprakan: Boss Printing. (in Thai)

Sailamai, B. & Samahito, C. (2014). The Development of Creative Thinking for Preschool Children Through STEM Education Learning Experience Provision on Local Careers in Songkhla Province. Master of Education (Early Childhood Education), Kasetsart University. (in Thai)

Siripatracha, P. (2013). STEM Education and skills development in the 21st century, Journal of Management, 2 (2), 49-56. (in Thai)

Somjanta, D. (2015). .A Study on Problem Solving Ability in Science for Upper Secondary Students Learning Through STEM EDUCATION Approach in Plant Anatomy. Master Degree of Education, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Suwanphibul, S. (2016).Development of STEM EDUCATION Learning Unit “Eco House” for Seventh-Grade Students. Master of Education Program in Educational Science and Learning Management, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Tidma, P. (2015). STEM Education in Topic of Human Systems to Promote Creative Thinking of 8th Grade Students. Master In Science Education Program, Naresuan University. (in Thai)

Thonsukdee, M. (1979). Studying Science. Bangkok: Bualuang Printing Company. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2019