การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูบรรจุใหม่ในการจัดการเรียนการสอน โดยการ Coaching และ Mentoring โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์สิงหเสนี) 2

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ปัญญา ศิริโชติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สหชัย สาสวน โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2

คำสำคัญ:

พัฒนาศักยภาพครูบรรจุใหม่, coaching และ mentoring, การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดําเนินการจัดการเรียนการสอนของครูบรรจุใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูบรรจุใหม่ และ 3) เพื่อติดตามและ
ประเมินผลการดําเนินการพัฒนาศักยภาพครูบรรจุใหม่กลุ่มเป้าหมายเป็นครูบรรจุใหม่ กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มผู้วิจัย คณะพัฒนา วิทยากร ผู้บริหาร หัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ครูผู้เกี่ยวข้องและครูบรรจุใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์เกี่ยวกับ
สภาพและปัญหาการดําเนินการจัดการเรียนการสอนการประชุมศึกษาสภาพและปัญหา การศึกษาความพึงพอใจการดําเนินการพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพฤติกรรมครูการศึกษาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้และการประชุมสรุปเสนอข้อคิดเห็นหลังจากดําเนินการพัฒนาศักยภาพครูบรรจุใหม่ ระยะเวลาการวิจัย ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2558 ถึง เมษายน 2560 (ปีการศึกษา 2558 – 2559) เครื่องมือใน
การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) สภาพและปัญหา พบว่า การพัฒนาครูบรรจุใหม่ไม่ได้กําหนดกิจกรรมเป้าหมายที่ชัดเจน การจัดทําแผนการเรียนรู้ขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่ครบถ้วน ครอบคลุม ไม่ได้รับการนิเทศ มีภาระงานมาก ส่วนครูพี่เลี้ยงไม่ได้ช่วยอย่างใกล้ชิด ขาดการติดตามประเมินอย่างจริงจัง การจัดทําข้อทดสอบรายวิชา ข้อทดสอบไม่ครอบคลุมตรงตามตัวชี้วัด ขาดทักษะในการสร้างข้อทดสอบ 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูบรรจุใหม่ในการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติการจัดทํา แผนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การสร้างและใช้เครื่องมือในการวัดประเมิน และพัฒนาศักยภาพครู โดยการสอนงาน (Coaching) และเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) และ 3) ผลการดําเนินการพัฒนา พบว่า ด้านการพัฒนาศักยภาพ สามารถนําความรู้ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและงานในหน้าที่รับผิดชอบได้การสร้างและใช้เครื่องมือในการวัดประเมินผลผู้เรียน และความรู้ที่ได้รับตรงกับความต้องการในการนําไปใช้ได้อยู่ในระดับมาก ด้านพฤติกรรม มีพฤติกรรมสะท้อนกลับ โดยรวมอยู่ในระดับดีด้านคุณภาพของแผนการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด ด้านคุณภาพข้อทดสอบรายวิชา มีคุณภาพตามเกณฑ์ และด้านวิธีการดําเนินการพัฒนาศักยภาพ พบว่า มีความพึงพอใจต่อวิธีการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-10-2020