ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติที่มีต่อวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย วงษ์ศรีนาค สาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นฤมล ศราธพันธุ์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภิญญา หิรัญวงษ์ ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

วิชาชีพคหกรรมศาสตร์, คหกรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้และทัศนคติที่มีต่อวิชาชีพคหกรรมศาสตร์และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติที่มีต่อวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดระนองใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดระนอง จํานวน 277 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า เกือบสามในสี่เป็นนักเรียนหญิง มากกว่าสองในสามมีอายุ 18 ปีมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.97 เกือบสองในสามเรียนโปรแกรมวิทยาศาสตร์ ประมาณหนึ่งในสามบิดาประกอบอาชีพทําสวน ทําไร่ ประมาณหนึ่งในสี่มารดาประกอบอาชีพแม่บ้าน เกือบสามในห้า มีรายได้เฉลี่ย 1,501-3,000 บาทต่อเดือน ประมาณสองในสามรู้จักคหกรรมศาสตร์ในระดับปานกลาง ได้รับความรู้เกี่ยวกับคหกรรมศาสตร์จากครู/อาจารย์และนําความรู้เกี่ยวกับคหกรรมศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหาร ผลการศึกษาความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ พบว่าส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับดี มากกว่าสองในสามมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพคหกรรมศาสตร์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( r = .27)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-29