การสร้างสรรค์การแสดง ชุด พระคเณศอัฏฐปางประจําวาร

ผู้แต่ง

  • วรกฤติ เพ็งสุข วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

คเณศ, อัฏฐปาง, ประจําวาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและคติความเชื่อของคนไทยในการนิยมนับถือพระ
คเณศ เทพเจ้าสําคัญองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์–ฮินดู จนนํามาซึ่งคติความเชื่อในการกําหนดนับถือพระคเณศเป็นเทพสัญลักษณ์ประจํา วันเกิดอันเป็นแนวคิดสู่การสร้างสรรค์การแสดง ชุด พระคเณศอัฏฐปางประจําวาร วิธีการศึกษาผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตํารา การสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือพระคเณศ ตลอดจนการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับที่มา ตํานาน พระนาม ความเป็นมาของการนับถือพระคเณศในประเทศไทยและคติการนับถือพระคเณศปางประจําวันเกิด รวมถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานด้านนาฏศิลป์และพระคเณศในนาฏศิลป์ไทย ผลจากการศึกษาพบว่าพระคเณศเป็นเทพอินเดียรุ่นหลังในยุคสมัยปุราณะ(ประมาณ พ.ศ.861 – 1190) ที่มาและตํานานเกี่ยวกับพระคเณศมีกล่าวไว้แตกต่างกันไป โดยแบ่งได้เป็นสองลักษณะคือที่มาในเชิงประวัติศาสตร์และที่มาในเชิงเทวตํานานความเป็นมาของการนับถือพระคเณศในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ที่แผ่ขยายเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 โดยพราหมณ์อินเดีย ในระยะแรกรู้จักและนับถือในฐานะเทพเจ้าแห่งความขัดข้อง และเป็นเทพผู้บันดาลความสําเร็จตามความเชื่อที่ว่า พระศิวะได้แต่งตั้งให้พระคเณศเป็นเจ้าของคณะ และให้พรว่างานประเภทใดก็ตาม ถ้าไม่บูชาพระคเณศงานนั้นไม่ประสบความสําเร็จ ผู้ที่บูชาแล้วจะประสบความสําเร็จจึงต้องมีการบูชาพระคเณศก่อนทํากิจการทั้งปวงจนกระทั่งในสมัยอยุธยาพระคเณศถือเป็นเทพสําคัญองค์หนึ่งในพิธีคชกรรมแนวคิดของคนไทย เกี่ยวกับพระคเณศเริ่มปรากฏชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยาและมารุ่งเรืองอย่างมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งในฐานะบรมครูช้าง เทพผู้ขจัดอุปสรรคและโดยเฉพาะอย่างยิ่งนิยมนับถือในฐานะเทพแห่งศิลปวิทยา โดยพบเป็นรูปเคารพตลอดจนตราสัญลักษณ์ตามสถานที่และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านศิลปะคติความเชื่อในการนับถือพระคเณศนี้ยังคงปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันและเป็นเทพเจ้าที่ทุกสาขาอาชีพเชื่อถือศรัทธา การนับถือพระคเณศได้มีการพัฒนาขึ้นอีกหลากหลายรูปแบบพระคเณศปางประจําวันเกิดเป็นอีกรูปแบบความเชื่อของคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าใครเป็นผู้กําหนด สันนิษฐานว่าความเชื่อนี้พัฒนามาจากแนวความคิดในการบูชาพระประจําวันคือเป็นการกําหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวอันเกี่ยวเนื่องกับชะตาชีวิตและความศรัทธาเชื่อถือเฉพาะของผู้บูชาเมื่อศึกษาโดยเทียบเคียงกับข้อมูลที่มีกล่าวไว้ใน
ศรีตัตวนิธิ ตามคัมภีร์มุทคละปุราณะคัมภีร์เก่าแก่ของศาสนาพราหมณ์เขียนโดยมหาราชาแห่งกรนาฏกมีพระนามว่ามุมมหิกฤษณราชโอทรพบว่าพระคเณศทั้ง 8 ปางที่นับถือเป็นพระคเณศปางประจําวันเกิดเป็นการเลือกยกมาจากการอวตาร 32 ปางของพระคเณศรูปเคารพและจิตรกรรมพระคเณศปางประจําวันเกิดแต่ละปางมีลักษณะพระวรกายในการอวตารต่างกันไป ทั้งจํานวนเศียร จํานวนกร และสีพระวรกาย ทั้งนี้พบว่าส่วนมากสีของพระวรกายไม่เป็นไปตามคัมภีร์มุทคละปุราณะ แต่ได้เปลี่ยนแปลงสีพระวรกายให้ตรงตามสีที่กําหนดตามสีวันอาจเป็นเพราะให้ง่ายต่อการจดจําจากองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาผู้วิจัยได้นํามา
วิเคราะห์สังเคราะห์และสร้างสรรค์การแสดง โดยกําหนดให้ผู้แสดงสมมุติบทบาทเป็นพระคเณศแต่ละปางที่กําหนดเป็นปางประจําวันเกิดมาประทานพร อ้างอิงพระนาม เทพลักษณะและสีพระวรกายตามกล่าวไว้ในคัมภีร์มุทคละปุราณะด้านองค์ประกอบการแสดงได้ประพันธ์บทร้อง สร้างสรรค์เครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์หัวโขนพระคเณศประดิษฐ์อุปกรณ์ประกอบการแสดง และสร้างสรรค์กระบวนท่ารํา นําเสนอในรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทยชุด พระคเณศอัฏฐปางประจําวาร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-29