การศึกษาความรู้สึกเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ” โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดของ Van Hiele

ผู้แต่ง

  • เกณิกา กรกัญญพัชร โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

คำสำคัญ:

ความรู้สึกเชิงปริภูมิ, กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้สึกเชิงปริภูมิเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างรูป
เรขาคณิตสองมิติและสามมิติ” โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ” โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จํานวนนักเรียน 40 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ” ตามแนวคิดของ Van Hiele 2) แบบทดสอบวัดความรู้สึกเชิงปริภูมิเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ”
และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ” การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคํานวณค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาความรู้สึกเชิงปริภูมิเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ” โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 70% อย่างมีนัยสําคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง“ความสัมพันธ์ระหว่างรูเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ” โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 70% อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-29