การประยุกต์เทคนิคการเทียบมาตราคะแนนแนวดิ่งเพื่อพัฒนาแบบสอบทักษะพื้นฐานทางวิชาการสําหรับบุคคลที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชุติมา หทัยรัตนา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ดารณี อุทัยรัตนกิจ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แบบสอบมาตรฐานวัดทักษะพื้นฐานทางวิชาการ, เทคนิคการเทียบคะแนนแนวดิ่ง, ข้อสอบร่วม, โครงสร้างรูปแบบความเจริญตามช่วงชั้น, บุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

บทคัดย่อ

แบบสอบทักษะพื้นฐานทางวิชาการสําหรับบุคคลที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นชุด
แบบสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิชาการเพื่อวัดนักเรียนรายบุคคล ประกอบด้วยแบบสอบย่อย 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะ
การอ่านคํา ทักษะการสะกดคํา ทักษะความเข้าใจประโยคและทักษะการคํานวณทางคณิตศาสตร์จัดเป็นชุดแบบสอบด้วยเทคนิคการเทียบมาตราคะแนนแนวดิ่งที่ทําให้แบบสอบแต่ละทักษะมีคะแนนความสามารถที่ปรับเทียบจากระดับชั้นประถมปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้อยู่บนมาตราคะแนนเดียวกัน แบบสอบฉบับที่ 1 วัดทักษะชั้นประถมปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 3 ฉบับที่ 2 วัดทักษะชั้นประถมปีที่ 4 ถึงประถมปีที่ 6 ฉบับที่ 3 วัดทักษะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และฉบับที่ 4 วัดทักษะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 กระบวนการพัฒนาแบบสอบประยุกต์เทคนิคการปรับเทียบมาตราคะแนนแนวดิ่ง ยึดโครงสร้างรูปแบบความเจริญตามระดับชั้น ที่มีข้อสอบร่วมอยู่ในแบบสอบย่อยรายทักษะแต่ละฉบับ การดําเนินการประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
ขั้นที่หนึ่ง สร้างแบบสอบรายทักษะ ข้อสอบในแบบสอบคัดเลือกจากคลังข้อสอบที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะตามค่าความยากตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และอยู่ในข้อกําหนดด้านเนื้อหาขั้นพื้นฐานในแต่ละช่วงชั้น ขั้นที่สองเลือกข้อสอบร่วมที่เข้าไปทําหน้าที่เชื่อมคะแนนความสามารถภายในทักษะที่วัด 4 ช่วงชั้นให้เป็นมาตราคะแนนเดียวกันที่สอดคล้องกับรูปแบบความเจริญตามลําดับชั้น ขั้นที่สาม ปฏิบัติการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างเทียบมาตราคะแนนแบบสอบ ซึ่งเป็นนักเรียนทุกระดับชั้นที่ได้สุ่มจากประชากรนักเรียนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่น จัดกลุ่มคะแนนผู้สอบเป็น 4 กลุ่มช่วงชั้น กําหนดใช้ผลการวิเคราะห์จากกลุ่มที่ 3 (ม.1-3) เป็นฐานการปรับระบบคะแนน คํานวณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบร่วมแล้วนําค่าประมาณที่ได้ไปปรับค่าประมาณของข้อสอบร่วมในกลุ่มที่ 2 และ 4 ด้วยวิธีการปรับเชิงเส้น และใช้วิธีเดียวกันนี้กับกลุ่มที่ 1 จากนั้นประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบทั้งหมดพร้อมกันในกระบวนการทํางานครั้งเดียวของโปรแกรมไบล็อก จะได้ผลแสดงการกระจายความสามารถในแต่ละช่วงชั้น จากกระบวนการเทียบมาตราคะแนนแนวดิ่งนี้การตอบข้อสอบในรายทักษะใดทักษะหนึ่งจะได้คะแนนความสามารถของบุคคลในทักษะนั้นและมีความหมายบนมาตราคะแนนเดียวกันของทักษะนั้นตลอด 4 ฉบับคุณภาพของชุดแบบสอบแสดงด้วย 1) ความตรงเชิงเนื้อหา จากการวิเคราะห์เชิงเหตุผลของผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน และผ่านการสร้างข้อสอบอย่างพิถีพิถัน 2) ความตรงเชิงโครงสร้างรูปแบบความเจริญตามลําดับชั้น พบว่า แบบวัดทักษะสะกดคํา ความเข้าใจประโยค และการคํานวณทางคณิตศาสตร์มีความตรงเชิงโครงสร้างตามรูปแบบความเจริญตามลําดับชั้น โดยมีค่าความยากเพิ่มขึ้นตามลําดับชั้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติส่วนแบบ
วัดทักษะการอ่านคํา มีความไม่สอดคล้องในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 3) ความเที่ยงของแบบสอบทั้ง 4 ทักษะ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.680 - 0.950

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-10-2020