การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน ศรียานุสรณ์จังหวัดจันทบุรีโดยใช้เทคนิคการประเมินเพื่อการเรียนรู้ที่บูรณาการในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ผู้แต่ง

  • จุมพล คํารอต ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พรทิพย์ ไชยโส ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การประเมินเพื่อการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, วิชาชีววิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรียานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน
ประกอบด้วย 1) ขั้นวางแผน โดยผู้วิจัยออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้จากการวิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้จํานวน 5 ขั้น คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสํารวจขั้นอธิบาย ขั้นขยายความรู้และขั้นประเมินผล โดยแต่ละขั้นบูรณาการเทคนิคการประเมินเพื่อการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย การกําหนดเป้าหมายการเรียนรู้การกําหนดเกณฑ์ความสําเร็จ การให้ข้อมูลย้อนกลับ การใช้คําถามและการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) ขั้นปฏิบัติ ผู้วิจัยทําการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้แก่ กลุ่มผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จํานวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีผู้เรียนกลุ่มเก่ง จํานวน 6 คน กลุ่มปานกลางจํานวน 29 คน และกลุ่มอ่อนจํานวน 7 คน 3) ขั้นสังเกตการณ์ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบสังเกตการปฏิบัติทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ 4) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติผู้วิจัยวิเคราะห์ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงพัฒนาทักษะกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้วิจัยในหน่วยการเรียนต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า การใช้เทคนิคการประเมินเพื่อ การเรียนรู้ที่บูรณาการในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบด้วย ขั้นสร้างความสนใจ บูรณาการเทคนิคการกําหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การใช้คําถามและการกําหนดเกณฑ์ความสําเร็จ ขั้นสํารวจ บูรณาการเทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับ ขั้นอธิบาย และขั้นขยายความรู้บูรณาการเทคนิคการใช้คําถาม และขั้นประเมินผลบูรณาการเทคนิคการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียน ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนรายวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์อีกด้วย เนื่องจากผู้เรียนกลุ่มเก่งเพิ่มขึ้นในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกด้าน เช่นเดียวกับกลุ่มอ่อนที่มีจํานวนลดลงในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกด้านเช่นกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-28