การศึกษาเปรียบเทียบแบบทดสอบการเรียงลำดับคำให้ถูกต้องตามโครงสร้างประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปัญญาวรคุณ

ผู้แต่ง

  • ทศพร โศภิษฐ์ธรรมกุล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปัญญาวรคุณ สพม. 1

คำสำคัญ:

แผนการเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ, ห้องเรียนปกติ, กลวิธีสอนการเรียงลำดับคำให้ถูกต้องตาม โครงสร้างประโยค, แบบทดสอบการเรียงลำดับคำให้ถูกต้องตามโครงสร้างประโยค

บทคัดย่อ

การวิจัยแบทดสอบการเรียงลำดับครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลของคะแนนแบบทดสอบการเรียงลำดับคำของนักเรียนในแผนการเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษและนักเรียนในห้องเรียนปกติ และ
2) เปรียบเทียบผลของคะแนนแบบทดสอบการเรียงลำดับคำของนักเรียนทั้งหมดระหว่าง แบบทดสอบก่อนเรียนโดยมีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และเครื่องหมายวรรคตอนมาให้ แบบทดสอบหลังเรียนโดยปราศจากเครื่องหมายวรรคตอนเพียงอย่างเดียว แบบทดสอบหลังเรียนโดยปราศจากตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เพียงอย่างเดียว และแบบทดสอบหลังเรียนโดยปราศจากทั้งตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และเครื่องหมายวรรคตอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแผนการเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ และนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 ในห้องเรียนปกติ ที่ศึกษาในรายวิชา อ33201 ภาษาอังกฤษอ่านเขียน 5 ที่โรงเรียนปัญญาวรคุณ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 55 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ
การเรียงลำดับคำโดยใช้วิธีการเขียน ที่แตกต่างกัน 4 รูปแบบ ที่ดัดแปลงมาจากคำถามประเมินนักเรียนในคู่มือครูของหนังสือเรียน Weaving It Together 3 ประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียนโดยมีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และเครื่องหมายวรรคตอนมาให้ แบบทดสอบหลังเรียนโดยปราศจากเครื่องหมายวรรคตอนเพียงอย่างเดียว แบบทดสอบหลังเรียนโดยปราศจากตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เพียงอย่างเดียว และแบบทดสอบหลังเรียนโดยปราศจากทั้งตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และเครื่องหมายวรรคตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
การวิเคราะห์ การหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
1. คะแนนแบบทดสอบการเรียงลำดับคำของนักเรียนในแผนการเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษสูงกว่าคะแนนแบบทดสอบการเรียงลำดับคำของนักเรียนในห้องเรียนปกติ
2. คะแนนแบบทดสอบการเรียงลำดับคำในแบบทดสอบก่อนเรียนโดยมีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และเครื่องหมายวรรคตอนมาให้ของนักเรียนทั้งหมดต่ำกว่าคะแนนแบบทดสอบการเรียงลำดับคำในแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมด ทั้ง 3 รูปแบบ
3. คะแนนแบบทดสอบการเรียงลำดับคำในแบบทดสอบหลังเรียนโดยปราศจากทั้งตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และเครื่องหมายวรรคตอนของนักเรียนทั้งหมดสูงกว่าคะแนนแบบทดสอบการเรียงลำดับคำในแบบทดสอบหลังเรียนโดยปราศจากเครื่องหมายวรรคตอนเพียงอย่างเดียวของนักเรียนทั้งหมด และคะแนนแบบทดสอบการเรียงลำดับคำในแบบทดสอบหลังเรียนโดยปราศจากตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เพียงอย่างเดียวของนักเรียนทั้งหมด ตามลำดับ

References

Amilia, N. (2018). An error analysis of students in arranging the jumbled words into the correct sentences at the second semester of the eighth grade at SMP 31 Bandar Lampung. (A thesis proposal). Raden Intan State Islamic University. Lampung.

Bungsudi & Faliyanti, E. (2016). The comparison of using jumble words and word order techniques toward students’ grammar mastery, Proceedings of the 2nd SULE-IC, FKIP (pp. 211-220). Palembang: Sriwijaya University.

Chomsky, N. (1983). Things no amount of learning can teach: Noam Chomsky interviewed by John Gliedman. Omni, 6(11), 113-118, 171-174.

Chunthanon, J. (2001). Teacher’s book different 1. Bangkok: Mac Press Co., Ltd. [in Thai]

Grammarbank. (2018). Punctuation and capitalization rules. Retrieved from https://www. Grammar bank.com>punctuation-and-capitalization.html.

Granger, C. & Plumb, J. (1981). Play games with English book 2. Oxford: Macmillan Heinemann English Language Teaching.

Hiranburana, S. (2004). A model for the education of gifted English language learners (Research report). Bangkok: Office of the Education Council. [in Thai]

Ibad, P. (2018). Using scrambled words technique in teaching English determiner and modifier to develop mastery of the tenth graders of Madrasah Aliyah Al-Istiqomah Ngata Baru in constructing English noun phrases. Journal of Foreign Language and Educational Research, 1(2), 47-56.

Ketkaew, P. (2008). Teacher’s book weaving it together 3. Bangkok: Thai Watana Panich Press Co., Ltd. [in Thai]

Pangestu, D. A. (2018). An analysis of students’ grammatical errors in arranging jumbled words into meaningful sentences of the eighth grade at SMP Negeri 4 Banyuwangi in the academic year 2016/ 2017. Lunar Language and Art Journal, 2(1), 1-6.

Telaumbanua, Y. A. (2018). An error analysis on the sixth graders’ ability in constructing jumble words into correct sentences of SD Negeri 077278 Zari-Zari Kecamatan Sitolu Ori Kabupaten Nias Utara. Cahaya Lingua, 7(1), 75-94.

Utami, F. S., Pabbajah, M. & Juhansar. (2018). The implementation of jumbled-sentences toward students’ skill in writing report text. English Review: Journal of English Education, 7(1), 115-124.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30