ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหาร เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
กิจกรรมที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง, เศษส่วน, การสอน คณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น
การลงมือปฏิบัติจริง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วนที่เน้นการ
ลงมือปฏิบัติจริง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในระหว่างเรียนและการทำแบบฝึกหัดของนักเรียน นำมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อสรุปพฤติกรรม
ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริงช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้นักเรียนสามารถสรุปความคิดรวบยอดได้ด้วยตนเอง สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น และมีการเชื่อมโยงความรู้ในการสร้างข้อสรุปได้
References
Bass, K. M., Danielle, Y. & Julia, H. (2012). The Effect of Raft Hands-on Activities on Student Learning, Engagement, and 21st Century Skills. RAFT Student Impact Study. Retrieved from http://www.raft.729solutions.com/public/pdfs/case-for-hands-on-learning.pdf
Chaisitnathee, R. (2017). Enhancing learning achievement in life and environment for grade 6 students using an activity package emphasized on hands-on. Master of Science Science Education, Ubon Ratchathani University. [in Thai].
Jaikla, A. (2015). Using Hands–on Activities to Promote Concepts on Circles of Prathom Suksa 6 Students, AnubanchunSchool, Phayao Province. Master of Education (Mathematics Eaducation), Chiang Mai University. [in Thai].
Mahawijit, P. (2010). Focus on the learners as a priority with the Learning Style Math Lesson Plan. Retrieved from http://www.scimath.org/ article-mathematics/item/619-learning-style, [in Thai].
Ministry of Education. (2017). Learning standards and indicators for Learning Mathematics, Science, and Geography In the group of learning, social studies, “religion and culture (Revised version 2017) according to the core curriculum of basic education, BE 2008”. Bangkok: Printing Company Limited Agricultural. [in Thai].
Neagoy, M. (2017). Unpacking Fractions: Classroom-Tested Strategies to Build Students Mathematical Understanding. United States of America: ASCD and National Council of Teachers of Mathematics.
Nurgul, D. G. (2010). A Study on Addition and Subtraction of Fractions: The Use of Pirie and Kieren Model and hands-on activities. Retrieved from www.sciencedirect.com/ science/ article/pii/S1877042810008803
Panid, W. (2012). Way to construct knowledge for students in 21 century. Bangkok: SodsrisawadiwongFoundation. [in Thai]
Srakrawee, U. (2011). The Effects of Hands-on Mathematics Learning Activities in the Topic of Surface Area and Volume on Mathematics Learning Achievement and Mathematics Connection Ability of Mathayom Suksa IIIStudentsat Strei Phang-nga School in Phang-nga. Province the Degree of Master of Education in Curriculum and Instruction School of Educational Studies. Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai].
Sue, S. (2013). New Approaches to Teaching Fractions. Retrieved from https://www.wsj.com/ articles/new-approaches-to-teaching-fractions-1380064772?tesla=y
Tonchan, L. (2016). Understanding of fractions in math classes using an open classroom education and method. The 22nd Annual Meeting in Mathematics (AMM 2017) Department of Mathematics, Faculty of Science. Chiang Mai University. [in Thai].
The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2006). Mathematics teaching principles. Retrieved from http://siwarin-kenthawi.blogspot.com/ 2011/09/blog-post_16.html. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)