การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปิยะวรรณ สูนาสวน โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล
  • มณัญญา มานะรัชศักดิ์ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล
  • ถิรนันท์ ปานศุภวัชร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • กาญจนา เทพสร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อุบลวรรณ ส่งเสริม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 2) เพื่อหาประสิทธิผลของการใช้หลักสูตรฝึกอบรม คือ ครูโรงเรียนบ้านสามยอด จำนวน 17 คน และครูโรงเรียนบ้านวังใหญ่ จำนวน 10 คน รวม 27 คน ใช้เวลาในการทดลอง 1 วัน ระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบประเมินการเขียนแผนการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อกิจกรรมในหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (ASSUFE MODEL) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ การจัดการเรียนรู้โดยเน้นการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการเรียนรู้ของครู เพื่อให้ครูสามารถเขียนแผนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเพื่อศึกษาความสามารถการจัดการเรียนรู้ของครู 3) ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย 3.1) วิเคราะห์ความต้องการ (Analyze needs) 3.2 ตั้งวัตถุประสงค์ (Set objectives) 3.3) เลือกเนื้อหา และจัดหากิจกรรม (Select content and activities) 3.4) นำหลักสูตรไปใช้ (Use curriculum) 3.5) ติดตามผล (Follow up) และ 3.6) ประเมินหลักสูตร (Evaluate) 4) การวัดและประเมินผล ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการเรียนรู้ของครู ความสามารถในการเขียนแผนและ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และ 5) เงื่อนไขการนำไปใช้ ครูมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และเทคนิควิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เปิดใจรับฟังความคิดเห็น ให้โอกาส และเวลาในการคิดของนักเรียน นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการคิดเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสื่อการสอนกระตุ้นให้นักเรียนคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. ประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 4 ประเด็นดังนี้ 2.1) ความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการเขียนแผนการเรียนรู้หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (p<0.01) 2.2) ความสามารถเขียนแผนการเรียนรู้ พบว่าครูมีความสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 2.67, S.D. = 0.54) และ 2.3) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยรวมของครูอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.23 , S.D. = 0.84) 2.4) ความคิดเห็นของครูที่เข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ครูที่เข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.64, S.D. = 0.49) และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมถึงประโยชน์ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับคือ ได้รับความรู้ใหม่ ๆ ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน สามารถนำกระบวนการ ทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้จริง

References

Dachakupt P. & Yindeesuk P. (2014). Teaching in the 21st Century. Bangkok: Printing Press of Chulalongkorn University [in Thai]

Dewey, J. (1910). How We Think. Retrieved from https://archive.org/ details/howwethink 000838mbp/page/n8/mode/2up.

Kitroongrueng P. (2010). The Development of an Instructional Model based on pedagogical case studies to enhance student teachers’ Critical Thinking. Doctor of Philosophy (Curriculum and Instruction) Ph.D. (Curriculum and Instruction) Faculty of Education, Silpakorn University. [in Thai]

Laonet N. (2009). Thinking skills development. Retrieved from http://www.pccpl.ac.th/ ~sci/teacher/25540622inquiry.pdf. [in Thai]

Lowriendee W. (2009). Thinking skills instructional models and strategies. 4th edition. Nakhonpathom: Faculty of Education, Silpakorn University. [in Thai]

Maneesorn P. (2014). Critical thinking skills development of Thai literature on khonchang khonphan by using Jurisprudential inquiry instruction model for Mathayom Suksa 6 at Samoengpittayakom School, Chiang Mai Province. Bachelor of Education Program in Thai Faculty of Education, Chiang Mai University. [in Thai]

Office of the Education Council. (2016). Education Plan 2017-2036 (2nd Edition). Bangkok: Office of the Education Council. [in Thai]

Phumchan T. (2012). The development of the critical thinking skills on social issues of matthayomsuka 6 students taught by jurisprudential inquiry model. Theses (Master's degree) - Teaching Social Studies Faculty of Education, Silpakorn University. [in Thai]

Prasert C. (2020). From the past to the present of Thai Education. Retrieved from http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=42067358. [in Thai]

Rothwell, W. J. (1996). Beyond Training and Development: State of Art Strategies for Enhancing Human Performance. New York: American Management association. [in Thai]

Silberman, M. L. (1998). Active training: A handbook of techniques, designs, case. Ontario: Jossey-Bass/Pfeiffer. [in Thai]

Thairathonline. (2013). Thai children who are under consideration to think critically. Many teachers do not have time to prepare for teaching. Retrieved from https://www.thairath.co.th/content/318746. [in Thai]

Wiboonthanakhul S. (2020). Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/ blog/detail/649478. [in Thai]

Wongsurawat K. (12 September 2013). The reason why Thai education is the latest rank of ASEAN. Retrieved from https://www.sanook.com/campus/1369850. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30