ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในอาจารย์มหาวิทยาลัยอายุน้อยที่มี ปัจจัยเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • Tharisara Chirasatienpon ภาคพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มนธีร์ จิตต์อนันต์
  • นันท์นภัส เกตน์โกศัลย์
  • ณัฐกฤตา ศิริโสภณ
  • ชนกานต์ สกุลแถว
  • ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา

คำสำคัญ:

พฤติกรรม ปัจจัยเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมอง อาจารย์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของอาจารย์อายุน้อยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ตามแนวทางการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 21 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 30-35 ปี และ 36-40 ปี (ร้อยละ 38.0) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.1) สถานภาพโสดจำนวน 15 ราย (ร้อยละ 71.4) ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาเอก 17 ราย (ร้อยละ 81) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,000-40,000 บาท (ร้อยละ 38.1) ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เฉลี่ยอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 80.95) ทัศนคติเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับทัศนคติที่เหมาะสมเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 57.1) และระดับปานกลาง (ร้อยละ 42.9) พฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร 3 อันดับแรกคือ 1.) ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้สำเร็จรูป น้ำหวาน ชานม กาแฟหรืออื่นๆ (ร้อยละ 42.9) 2.) กินผักและผลไม้สด น้อยกว่า ครึ่งกิโลกรัมหรือน้อยกว่า 5 กำมือต่อวัน (ร้อยละ 23.8) 3.) กินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อหมูติดมัน หมูสามชั้น หนังไก่ คอหมูย่าง เครื่องในสัตว์ หอย ปลาหมึก หรืออื่นๆ (ร้อยละ 14.3) กินขนมหวานต่างๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง หรืออื่น ๆ (ร้อยละ 14.3) และเติมน้ำตาลเพิ่มในการกินอาหารแต่ละมื้อ (ร้อยละ 14.3) พฤติกรรมด้านความเครียดที่กลุ่มตัวอย่างไม่เคยปฎิบัติเลยคือ ดื่มสุราทุกครั้งเมื่อประสบปัญหาชีวิต (ร้อยละ 100) พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกายระดับปานกลาง คือ ออกจนรู้สึกเหนื่อยพอควรโดยหายใจแรงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย แต่ยังสามารถพูดคุยได้จนจบประโยค เช่น ขุดดิน ถูบ้าน ล้างรถ เดินเร็ว ปั่นจักรยานนานครั้งละ 30 นาที จำนวน 5 วันต่อสัปดาห์ โดยปฎิบัติเป็นบางครั้ง 2-4 วัน/ สัปดาห์ (ร้อยละ 66.7) พฤติกรรมด้านการสูบบุหรี่ ไม่มีกลุ่มตัวอย่างรายใดสูบบุหรี่หรือยาสูบเลย (ร้อยละ 100) พฤติกรรมด้านการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ไม่มีกลุ่มตัวอย่างรายใดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ยาดอง วิสกี้ บรั่นดี ไวน์  (ร้อยละ 100) จากผลการวิจัยจึงควรส่งเสริมความรู้ด้านการบริโภคอาหาร ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

References

American Stroke Association. (2018). Stroke Risk Factors You Can Control, Treat and Improve. Retrieved from https://www.stroke.org/en/about-stroke/stroke-risk-factors/stroke-risk-factors-you-can-control-treat-and-improve. Access date 8 February 2021.
Best, J.W. (1981). Research in education. (4th ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Bloom, B.S. (1975). Taxonomy of education objective handbook. New York: David McKay.
Bulletin of the World Health Organization. (2016). Stroke: a global response is needed. Retrieved from https://www.who.int/bulletin/volumes/94/9/16-181636/en/. Access date 5 January 2021
Bureau of Non-Communicable Diseases, Ministry of Public Health. (2015). Guideline for Assessment of Cardiovascular Risk: Assessment of cardiovascular risk in high risk groups for diabetes and hypertension (Pre-DM, Pre-HT) and obesity. Retrieved from http://www.thaincd.com/2016/mission/activity.php?tid=31&gid=1-015-005&searchText=&pn=5. Access date 18 January 2019. (in Thai)
Kasetsart University. (2016). Announcement of the Kasetsart University Council: Minimum workload standard as a lecturer in Kasetsart University 2016. Retrieved from https://ku-work.ku.ac.th/download/workload2559.pdf. Access date 5 January 2021. (in Thai).
Karoonngamphan, M. Suvaree, S. & Numfone, N. (2012). Health Behaviors and Health Status of Workers: A Case Study of Workplaces in Sathorn District, Bangkok Metropolitan. Songklanagarind Journal of Nursing. 32(3): 51-65. (in Thai).
Khiawkhwao, P. Thiangtham, W. & Boonyamalik, P. (2019). The Effect of the Cerebral Vascular Disease Prevention Program in High Risk Group Patients. Journal of Health and Nursing Research. 35(3): 120-132. (in Thai).
Koo-mgammak, J. & Siripanich, P. (2014). Work Stress of Instructors in State Universities. NIDA Development Journal. 54(1): 259-285. (in Thai).
Lee, TH., Hsu, WC., Chen., CJ., et al. (2004). Etiologic study of young ischemic stroke in Taiwan. Stroke. 33(8): 1950–1955
Nilnate, N. (2019). Risk factor and Prevention of Stroke in Hypertensive Patients. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 20(2): 51-57. (in Thai)
Nilpetchploy R., Tiamkao S. & Silarak S. (2004). Cerebral Infraction in the Young in Srinagarind Hospital. Srinagarind Med J. 19(3): 122-130. (in Thai).
Nualnetr, N. Srikha, D. (2012). Knowledge on the stroke and behaviors to reduce the risk of stroke among risk persons in Samliam Community, Muang District, Khon Kaen Province. J Med Tech Phy Ther. 24(3): 318-326. (in Thai).
Office of Administration Kasetsart University. (2016). Personnel Ethics Kasetsart University. Retrieved from https://registrar.ku.ac.th. Access date 7 February 2021. (in Thai).
Satirapanya C., Sathiranya P. & TraiChan C. (2014). Prevalence of Risk Factors for Stroke and Depression after Stroke in Phatthalung Province: Cross-sectional study. Songkhla Nakarin Vejsarn Journal. 32(5): 275-282
Sudjit, S. (2019). The Characteristics of the Instructor based on the Opinion of Undergraduate Students in Phuket. Romphruek Journal, Krirk University. 37(1): 145-152. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2021