รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวโดยชุมชน, รูปแบบการจัดการเรียนรู้, / การจัดการอย่างมีส่วนร่วม, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, นนทบุรีบทคัดย่อ
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันส่งผลให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนได้รับผลกระทบอย่างมาก การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมจึงเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนท่องเที่ยวรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและความต้องการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว และเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยศึกษากรณีชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ ประชากรเป้าหมายได้แก่ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในชุมชนริมคลองอ้อมนนท์ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน บุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พระสงฆ์และครูในชุมชน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (จำนวนรวม 15 คน) เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกภาคสนาม แนวคำถามและบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่มีผลต่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว คนในชุมชนมีความต้องการการเรียนรู้ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเข้าใจอย่างชัดแจ้งในชุมชน ด้านการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว และด้านการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม สำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างมีส่วนร่วมพบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเรียนรู้แบบลำดับขั้น ประกอบด้วย 1) ศึกษาความต้องการของชุมชนและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2) กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้และวัตถุประสงค์ และ 3) ออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ซึ่งอยู่ในรูปแบบของปัจจัยนำเข้า กระบวนการพัฒนา ผลผลิต และผลลัพธ์ (IPOO) ผลจากการวิจัยสามารถนำไปขยายผลสู่การพัฒนาความสำเร็จที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นทั้งสำหรับชุมชนริมคลองอ้อมนนท์และชุมชนท่องเที่ยวอื่น ๆ ในจังหวัดนนทบุรี
References
Deloitte University. 2020. Respond, Recover, Thrive An evolving perspective on the economic impacts of COVID-19. New York, NY: Deloitte University Press.
Dokchan, T., Chuamuangphan, N. (2020). The Potential Management of the Tourist Attractions on Health Tourism Development in the Western Region. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 16(25), 59-69.
Kaba, M., & Jira, C. (2020). Jimma Community Based Education. Education and Health, 11(2), 165-171
Krungsri Research. (2021). nǣonōm thurakit læ ʻutsāhakam Thai [Thailand’s Business and Industry Trends]. Bangkok: Krungsri Research.
Onya, P. (2020). Community Based Tourism Management by Tourist Destination Development Process. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 14(2), 46-54.
Pitanatri, P.D.S. (2016, September 1-3). Digital Marketing in Tourism: The More Global, The More Personal. Paper presented at the International Tourism Conference, Bali, Indonesia.
Shulla, K., Filho, W. L., Lardjane, S., Sommer, J. H., & Borgemeister, C. (2020). Sustainable Development Education in the Context of the 2030 Agenda for Sustainable Development. International Journal of Sustainable Development & World Ecology, 27(5), 458-468.
Sumbandit, W., Charuchinda, A., & Pholcharoen, S. (2019). The Guidelines for Sustainable Tourism Resources Development in the Chantaboon Waterfront Community, Wat Mai Sub-District, Muang Chanthaburi District, Chanthaburi Province. Saint John's Journal, 22(30), 268-285.
Thomas, A., Kobashigawa, S., & Ewart, M. (2020). Toward Community-Based Learning. Netherlands: Brill.
World Bank Group. 2021. Thailand Economic Monitor: Restoring Incomes; Recovering Jobs. Bangkok: World Bank.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)