การพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอลด้วยบันไดลิงอัจฉริยะ

ผู้แต่ง

  • ณัฐชนนท์ ซังพุก คณะศึกษาศาสตร์
  • รศ.ดร. จุฑามาศ สิงห์ชัยนรา
  • ดร.อัจฉรา เสาว์เฉลิม
  • กัลพฤกษ์ พลศร ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

บันไดลิงอัจฉริยะ, ความคล่องแคล่วว่องไว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาผลของการฝึกโดยใช้โปรแกรมบันไดลิงอัจฉริยะควบคู่การฝึกซ้อมฟุตบอลและการฝึกซ้อมฟุตบอลเพียงอย่างเดียวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว 2.เพื่อเปรียบเทียบความคล่องแคล่วว่องไวระหว่างการฝึกโดยใช้โปรแกรมบันไดลิงอัจฉริยะควบคู่การฝึกซ้อมฟุตบอลและการฝึกซ้อมฟุตบอลเพียงอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)  จำนวนทั้งสิ้น 40  คน เป็นแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม 1.กลุ่มทดลอง คือ นักกีฬาฟุตบอลที่ฝึกโดยใช้บันไดลิงอัจฉริยะควบคู่การฝึกซ้อมตามโปรแกรมฟุตบอล 2.กลุ่มควบคุม  นักกีฬาฟุตบอลที่ฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฟุตบอล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) โปรแกรมฝึกความคล่องแคล่วว่องไวโดยใช้บันไดลิงอัจฉริยะ 2) โปรแกรมการฝึกซ้อมฟุตบอล 3. แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว  Illinois Agility run test และ Smart ladder test บันทึกข้อมูลเวลาที่ใช้ในการทดสอบจากแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว  Illinois  Agility run test และ Smart ladder test วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ  (One – way Analysis of Variance with Repeated Measures)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การทดสอบความแคล่วคล่องว่องไว ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยในการทดสอบความแคล่วคล่องว่องไวของกลุ่มทดลอง ลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ยในการทดสอบของกลุ่มควบคุม
  2. การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้แบบทดสอบ Illinois Agility run test และแบบทดสอบ Smart ladder test  หลังการฝึก 4 สัปดาห์ และหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ค่าเฉลี่ยในการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยที่ลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ยในการทดสอบของกลุ่มควบคุม

References

Acar, H and Eler, N. (2019). The Effect of Balance Exercises on Speed and Agility in Physical Education Lessons. Department of Physical Education and Sport, Zonguldak Bulent Ecevit University.

Bompa, T. O. (1999). Periodization (4th ed.). United State: Human Kinetic.

Brown, L., and Ferrigno, V. (2005). Training for speed, agility and quickness. Champaign, IL: Human Kinetics

G.Grey. ( 2009 ). Complete Conditioning for Soccer. United States . Human Kinetics.

Hoffman.J.R. ( 2012 ). National Strength and Conditioning Association Guide to Program Design. United States . Human Kinetics.
Miller, A. J., Grais, I. M., Winslow, E and Kaminsky, L. A.(2006). The definition of physical fitness. Journal of Sports Medicine and Physical Fitnaness, 31(12), 639 -640.

Shji, J. and Isha, S.(2009). Comparative analysis of plyometric training program and dynamic stretching on vertical jump and agility in male collegiate basketball player. Al Ameen J Med Sci, 2(1), 36-46

Thomas, K., D. French and P.R. Hayes. 2009. The effect of two plyometric training techniques on muscular power and agility in youth soccer players. J Strength Cond Res. 23: 332 – 335.

Vives, D. and J. Roberts. 2005. Quickness and Reaction Time Trainning for Speed, Agility, and Quickness. Illinois: Human Kinetics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31