ผลการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดยืดหยุ่นในเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • อารยา บุญชม สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปัทมาวดี เล่ห์มงคล ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ศิลปะประดิษฐ์, การคิดยืดหยุ่น, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดยืดหยุ่นในเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ เด็กปฐมวัยชายและหญิงอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 19 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์  จำนวน 16 แผน แบบทดสอบการคิดยืดหยุ่นในเด็กปฐมวัย และแบบบันทึกการแสดงออกพฤติกรรมการคิดยืดหยุ่นในเด็กปฐมวัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย การใช้ความคิดที่หลากหลาย และการปรับเปลี่ยนความคิดและวิธีการต่อสถานการณ์ที่พบ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ข้อมูลทางสถิติ    หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดยืดหยุ่นในเด็กปฐมวัย มีผลคะแนนการคิดยืดหยุ่นสูงกว่าก่อนการทดลอง จากการสังเกตพฤติกรรม พบว่าเด็กมีการคิดยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นในทุกด้าน เมื่อเด็กได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ที่ส่งเสริมการคิดยืดหยุ่น เด็กมีความคิดที่หลากหลายในการตอบคำถามและในการสร้างผลงาน สามารถคิดนอกกรอบและดัดแปลงความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ในการทำกิจกรรม เด็กสามารถปรับเปลี่ยนความคิดและวิธีการใหม่ ๆอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์จากการลงมือทำผลงานของตนเองได้เป็นอย่างดี

References

Anurutwong, O. (2012). Developing Higher Level of Thinking Skills. Nakhon Pathom : IQ Book Center. [in Thai]

Guiford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York :McGraw – Hill , Book Company.

Jamthin, T. (2018). Early Childhood and Creative Development. Bangkok : Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University. [in Thai]

Kiewra,C. (2016). Supporting Preschoolers’ Creativity in Natural Outdoor Classroom. The International Journal of Early childhood Environmental Education, v4 n1 p70-95.

Lee, A. (2019). 21st Century Learning For Early Childhood. Learn More and Get Involved at Battelleforkids.org/networks/p21.

Lertwanlapachai, R. (2016). The effect of artificial arts activities for the development of basic mathematical skills on the classification of early childhood children. Master of Education degree. [in Thai]

Panmanee, A. (2014). Train to think Creatively. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Poolsilsakkul, A. (2003). Stimulate small muscles, enhance intelligence. Save the mother. 9(118): 110-114. [in Thai]

Samnuch, S. (2017). Reading non-narrative storybooks for development of high-level skills for early childhood students. Bachelor of Education in Early Childhood Education, Kasetsart University. [in Thai]

Tang charoen, et al. (2001). Producing little artists Education Management Guide for TalentsSpecialty in visual arts. Bangkok: National Center for the Development of Talented Persons. [in Thai]

Paisan, S. (2002). Early childhood Wisdom. Bangkok: Suwirat. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30