การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอิงบริบทท้องถิ่นโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน: มิติใหม่ของการเรียนรู้วิชาเคมี

ผู้แต่ง

  • พชรวรรณ มีหนองหว้า โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล อ.เรณูนคร จ.นครพนม
  • ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ สาขาวิชาการศึกษา สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ปัญหาเป็นฐาน, สะเต็มศึกษา, บริบทท้องถิ่น, มัธยมศึกษาปีที่ 5, อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี, วิชาเคมี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับการจัด       การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอิงบริบทท้องถิ่นโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้เขียนได้วิเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับการจัด การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอิงบริบทท้องถิ่นโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และสามารถสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอิงบริบทท้องถิ่นโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ได้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ระบุปัญหาที่เชื่อมโยงบริบท ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 3 วางแผน การแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแนวทางการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 นำเสนอและประเมินผลงาน ขั้นที่ 6 สรุปและขยายความรู้ซึ่งขั้นตอนการจัด   การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอิงบริบทท้องถิ่นโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสามารถบูรณาการกับการใช้บริบทในท้องถิ่นของผู้เรียนเพื่อเป็นการสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ในตอนท้ายของบทความนี้ผู้เขียนนำเสนอตัวอย่าง      การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอิงบริบทท้องถิ่นโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาเคมี ในเนื้อหา เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอิงบริบทท้องถิ่นโดยใช้ปัญหาเป็นฐานได้อย่างเป็นรูปธรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31