การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดการคิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
ลักษณะเฉพาะของแบบวัด, การคิดเชิงคำนวณ, วิทยาการคำนวณบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของลักษณะเฉพาะของแบบวัดการคิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดฯ ที่สร้างขึ้นตามลักษณะเฉพาะ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย มี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดการคิดเชิงคำนวณ ฯ และระยะที่ 2 การพัฒนาแบบวัดฯ ที่สร้างขึ้นตามลักษณะเฉพาะ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย มีจำนวน 800 คน เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตเบญจบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินลักษณะเฉพาะฯ และแบบวัดการคิดเชิงคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตรงตามเนื้อหา ความยากง่าย อํานาจจําแนก ความตรงตามโครงสร้าง และความเที่ยง
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯที่พัฒนาขึ้น
มีองค์ประกอบของลักษณะเฉพาะ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการทดสอบ วัตถุประสงค์ของแบบวัด ทักษะที่ต้องการวัด รูปแบบของข้อคำถาม ลักษณะการตอบ เกณฑ์การให้คะแนน โครงสร้างของแบบวัด ลักษณะเฉพาะของข้อคำถาม และตัวอย่างข้อคำถาม มีผลการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในระดับมาก = 0.44, S.D. = 0.25 2) คุณภาพของแบบวัดการคิดเชิงคำนวณฯ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าความยากง่าย ประสิทธิภาพในการลวง และอำนาจจำแนก อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ โมเดลการวัดการคิดเชิงคำนวณฯ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และแบบวัดการคิดเชิงคำนวณฯ มีค่าความเที่ยงในระดับสูงมาก (KR-20 = 0.92)
References
Beinkowski, M. (2015). Assessment design pattern for computational thinking practice in secondary computer science: A first look. Menlo park California State USA: SRI international.
Brackmann, C. (2017). Development of computational thinking skills through unpluggess activities in primary school. The 12th workshop in primary and secondary computing education, 17(1), 65-72.
Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2017). Indicator Science department (improve 2017). Basic curriculum 2008. Bangkok: Chumnumsahakornkrankaset. [In Thai].
Doungjang, S. (2018). Effects of using stem education in physics on computational thinking ability of upper secondary school student. (Master of Education Thesis). Chulalongkorn University.
Hair. (2010). Multivariate Data Analysis. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Hendrickson, A. (2010). Clams, evidence and achievement -level descriptors as a foundation for item design and test specifications. Applied Measurement in Education. 23(4), 358-377.
Shen, Z. (2007). Test specification and reading assessment -designing the new TEM4 reading test specification. CELEA, 30(1),33-37.
Tobua, S. (2019). Educational research method. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai].
Weinberg, A. (2013). Computational thinking: An investigation of the existing scholarship and research. (Degree Doctor of Philosophy). Colorado State University.
Yokpitakchork, P. (2017). Development of test item specifications scale of the 21st century information communications and technology literacy skill for undergraduate student. (Master of Education Thesis). Chulalongkorn University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)