การพัฒนาแนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้สำหรับส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
แนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้, พัฒนาการทักษะการอ่าน, การอ่านเพื่อความเข้าใจวิชาภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้สำหรับส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากการใช้แนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นในลักษณะแผนงานวิจัยแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตาม
แนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้สำหรับส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจวิชาภาษาอังกฤษ และแบบวัดทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจวิชาภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติพื้นฐาน Dependent Samples t-test และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้สำหรับส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจวิชาภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ การกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จในการเรียนรู้ การใช้คำถามเพื่อพัฒนานักเรียน การมีส่วนร่วมในการประเมินของนักเรียน และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียน
2) พัฒนาการทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจวิชาภาษาอังกฤษหลังการใช้แนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นในระดับสูงมาก 6 คน ระดับสูง 14 คน ระดับกลาง 16 คน และระดับต้น 4 คน
References
Al-ldrus, T. (2021). The Development of English Reading Comprehension Using Exercises Skill Based on Murdoch Integrated Approach (MIA) for Mattayomsuksa 4 Students Prince of Songkla University Demonstration School (Secondary). Wishing Journal Review, 1(2), 29- 43. [in Thai]
Black, P. et al. (2004). Working inside the black box: Assessment for Learning in the classroom. Phi Delta Kappan, 86(1), 9-21.
Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2017). Assessment for Learning : Questioning and Feedback to Enhance Learning. The Agricultural Co-operative Federation of Thailand, Ltd. [in Thai]
Kaewdee, S. (2018). Enhancing Learners through Assessment for Learning. Journal of education studies Chulalongkorn University, 46(2), 294-409. [in Thai]
Kanjanawasee, S. (2014). Gain Score. The Social Science Research Association of Thailand, 1(1), 1-20. [in Thai]
Lapyen, S. (2017). Using Assessment for Learning for Enhancing Learning Outcomes of 11th Grade Students in Physics Course at Nawamintharachinuthit Satriwitaya 2 School. Master Degree of Educational Research and Evaluation, Kasetsart University. [in Thai]
Leslie, C, J. (2022). Development of English Reading Skills Exercises Through Task-based Approach and STAD Technique for the Secondary School year 4. Saeng Isan Academic Journal, 19(1), 17-27. [in Thai]
Manee-on, S. (2016). Assessment for Learning. Journal of Education, Silpakorn University. 14(1), 15-25. [in Thai]
McBride, P. & Milliner, B. (2016). Introduction to M-Reading: An Online Extensive Reading Aid for Schools. English Teacher. 45(2), 96-105.
Muneerat, M. (2014). A Development of English Reading MaterialsUsing Inference Strategies Instruction to Enhance English Reading Comprehension Ability of Upper Secondary Students:A Case Study of Tenth Grade Students of Chonkanyanukoon School. An Online Journal of Education, 9(1), 672-684. [in Thai]
Naowanont, W. (2020). Learning Management Results that Focus on Assessment for Learning Mathematics for Learning for Pratomsuksa 1 Students. Master Degree of Educational Research and Evaluation, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. [in Thai]
Prasertsawat, P. (2021). The Development of English Reading Comprehension Ability and The Study of English Reading Behavior Using SQ3R Methodfor Grade5 Students. Journal of Kasetsart Educational Review, 36(2), 191-206. [in Thai]
Rowe. (2007.) My Top 10 Tips: Assessment for Learning, Teachers, Issue 51: http://bit.ly/2bS8fbe.
Saewkratoke, S. (2017). A Development of Assessment for Learning Model to Enhance Reading, Analytical Thinking and Writing Abilities of Junior High School Students. Doctor Degree of Educational Research and Evaluation, Naresuan University. [in Thai]
Santhep, S. (2018). A Study of English Reading Comprehension Ability of Grade 10 Students Based on Cooperative Integrated Reading and Composition Technique and Mind Mapping Technique. Journal of Education Graduate Studies Research, KKU, 12(3), 113-122. [in Thai]
Sirum, U. (2019). Strategies of Assessment for Learning for Learners in the 21st. Doctor Degree of Educational Research and Evaluation, Kasetsart University. [in Thai]
Srikarin, D. (2021). A Study of the Development of Ninth Grade Students’ Scientific Argumentation Skills through Assessment for Learning. Master Degree of Educational Research and Evaluation, Kasetsart University. [in Thai]
Xiaoming, W. et al. (2021). Implementing Assessment for Learning (AfL) in Chinese university EFL classes: Teachers’ values and practices. Elsevier Journal, 101(1), 2-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)