ระดับความสำเร็จและอุปสรรคในการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนนำร่อง เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

ผู้แต่ง

  • อมรพันธ์ สำเภา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พร้อมพิไล บัวสุวรรณ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ, โรงเรียนนำร่องเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา, ระบบนิเวศทางการศึกษาระยอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มี 3 วัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ 2) เพื่อศึกษาอุปสรรคในการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำแนวคิดระบบนิเวศทางการศึกษา 5 ระบบ (ไมโคร เมโซ เอ็กโซ มาโคร และโครโน) มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เก็บข้อมูลจากผู้บริหารและครูโรงเรียนนำร่องเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 260 คน ที่ได้จากการ
สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับและคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดทำข้อเสนอแนะโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากคำตอบของแบบสอบถามปลายเปิด

พบผลการวิจัย 3 ข้อ ได้แก่ 1) ในภาพรวมระดับความสำเร็จในการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนนำร่องเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยองอยู่ในระดับมาก ระบบเมโซมีระดับความสำเร็จมากที่สุด ระบบโครโนมีระดับความสำเร็จน้อยที่สุด 2) ในภาพรวมอุปสรรคในการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง โดยระบบมาโครมีระดับอุปสรรคมากที่สุด และระบบเมโซมีระดับอุปสรรคน้อยที่สุด และ 3) งานวิจัยนี้เสนอให้มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ ปรับหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ลดเนื้อหาที่ไม่จำเป็นในบางรายวิชาลง และจัดประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจหลักสูตรที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง

References

Division of Educational Law and Cultural, Office of the Council of State. (2019). Intention of the Education Sandbox, Bangkok. [In Thai].

Krejcei, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activitives. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Ministry of Education Thailand, (2018). Announcement of the Ministry of Education on the Establishment of Educational Sandbox in Rayong 2018. [In Thai].

Nuekchaiyaphoom, A., & Saifah, Y. (2021). Guidelines of School-based Curriculum Management for Opportunity Expansion School Students in Eastern Economic Corridor Area. Journal of the Association of Researchers, 26(3), 79-99. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/article/view/248422/171069. [In Thai].

OECD/UNESCO. (2019). OECD Future of Education and Skills 2030: Curriculum analysis. https://www.oecd.org/education/2030project/contact/Change_management_for_for_curriculum_ implementation_Facilitating_and_hindering_factors_of_curriculum_implementation.pdf.

Office of Educational Sandbox Management. (2019). Dimension of Rayong People Creation and Development: Rayong Curriculum Framework Rayong MACRO www.edusandbox.com/12th-jul-news-rayong-marco., Jan,31 2022. [In Thai].

Sanguanrat, S., & Parunggul, Ch. (2021). Curriculum and Competency-based Teaching in School. The Journal of Sirindhornparidhat, 22(2), 351-364. [In Thai].

Thummaphan, P., Sripa, K., Assapun, S., & Jomnum, S. (2022). The process of developing the competency-based school curriculum in Education Sandbox: A Complete Report. Thammasat University Research and Consultancy Institute. [In Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023